9/7/54

21.ความสัมพันธ์กันระหว่างเพลงลูกทุ่งกับศาสนพิธี

กุศลพิธี
    กุศลพิธี  แปลว่า  บุญความดี  ฉลาด  สิ่งที่ดี  กรรมดี  เป็นต้น  กรรมดีและการกระทำดี  หรือกุศลกรรม  ก็คือการกระทำที่เกิดเจตนาดี  ซึ่งต่างจากอกุศลกรรมคือการทำชั่ว  เป็นเจตนาที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับทุกข์    เจตนาดีและเจตนาชั่วนั้นเกิดขึ้นในใจ  การพิจารณาว่าเจตนาใดเป็นเจตนาดีหรือชั่วจึงต้องพิจารณาถึงสภาวะในใจว่า  มีเหตุผลแห่งเจตนาเป็นกุศลหรืออกุศล (พระมหาเอกนรินทร์)   เรื่องนี้  พระเทพเทวี  ได้ตีความกุศลและอกุศลเอาไว้ว่า
    “...กุศลและอกุศล  เป็นสภาวะที่เกิดในจิตใจและมีผลต่อจิตใจก่อนแล้ว  จึงมีผลต่อบุคลิกภาพ   และแสดงผลนั้นออกมาภายนอก  ความหมายของกุศลและอกุศลจึงเพ่งไปที่พื้นฐาน   คือเนื้อหาสาระและความเป็นไปภายในจิตใจเป็นหลัก...กุศล  แปลตามศัพท์ว่า  ฉลาด  ชำนาญ  สบาย  เชื่อหรือ  เกื้อกูล  เหมาะ  ดีงาม  เป็นบุญ  คล่องแคล่ว  ตัดโรคหรือสิ่งชั่วร้ายที่น่ารังเกียจ  ส่วนอกุศล  ก็แปลว่า  สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล   หรือตรงข้ามกันกับกุศล  เช่นว่า  ไม่ฉลาดไม่สบาย   เป็นต้น  (พระเทพเวที)
    พิธีมงคลบวชนาคเป็นพิธีมโหฬาร  และสำคัญสำหรับชาวไทยผู้เป็นผู้พุทธศาสนิกชนและผู้ที่จะมานั้นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธี  คือ
    ๑)  ระเบียบการกราบไหว้
    ๒)  ระเบียบการกรวดน้ำ
    ๓)  ระเบียบการรับประทาน
    เมื่อใกล้วันบวชตามนิยมกันทั่วไป  ผู้ที่จะบวชต้องมีดอกไม้  ธูปเทียน  เที่ยวลาญาติพี่น้องและญาติผู้ใหญ่  ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ  เป็นการแสดงความเคารพและขอขมากรรมที่ได้พลาดพลั้งล่วงเกินทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ญาติพี่น้องและญาติผู้ใหญ่นั้น  ก็ขอรับขมาพร้อมกับให้พรบทเพลงลูกทุ่งได้กล่าวถึงเรื่องขอลาบวช  เช่น
    “...พวกพ้องน้องพี่ลาทีลาก่อน   ผมบวชแน่นอน  บอกกันต่อไป  ผมเคยโกรธเคืองมีเรื่องกับใคร  จงโปรดอภัยอโหสิกรรม
    ลาแล้วความรักอกหักหลายหนพ่อนาคคนจนต้องฝังใจว่ากุศลบุญช่วยหนุนน้อมนำ...”
        (บวชนาค  :  ไวพจน์   เพชรสุพรรณ)
    การบวชนาคทำให้พ่อแม่ปีติยินดีทำให้ท่านสบายใจ  เพราะการบวชเป็นการสนองคุณทางจิตใจของท่าน  สิ่งที่จะทำให้พ่อแม่โดยทั่วไปดีใจนั้นคงไม่มีอะไรเกินกว่าได้เห็นลูกเป็นคนดีดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง
    การบวชเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาย่อมช่วยให้ได้รับความสุขปีติยินดี ความสุขใจที่ได้เห็นลูกอยู่ในร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ย่อมช่วยต่อชีวิตของผู้นั้นให้ยืนยาว(พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ) 
    บทเพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงกุศลเจตนาที่นาคได้ทำได้ทำต่อบุพพการีคือพ่อแม่  ดังเพลงว่า
    “ศรี  ศรี  วันนี้  ฤกษ์ดีมงคล  พ่อนาคเอ๋ย  เธอจะได้ทำ
    การบรรพชานับว่าเป็นบุญกุศลเจตนา  ที่พ่อนาคมีต่อผู้มี
    บุพพการี  คือบิดามารดาขอให้สุโขภิญโญสโมสร  ดังจะให้
    สุนทรพรรณนา
    พ่อนาคเอ๋ย  ฟังเอื้อนเอ่ยวาจา  วันนี้เธอบรรพชาใน
    ศาสนาพระพุทธองค์  โกนคิ้ว  โกนผม  ปลดปลงสละกิเลส
    ไปเป็นเพศสงฆ์ศิษย์องค์พระศาสดา
    ประเพณีบรรพชา  มีแต่ครั้งโบราณ  ดำรงคงยืนมานาน
    จึงเป็นการสมควรที่พ่อนาคเอ๋ย  เธอได้โอกาสฤกษ์ดี”
    (พ่อนาคเอ๋ย  :  ไพบูลย์  บุตรขัน)
    เมื่อพระอุปัชฌาย์กำหนดวันเวลาบวชให้แน่นอนแล้ว  เจ้าภาพจะต้องจัดแจงเตรียมหาเครื่องบริขารไว้ให้ครบ  เครื่องบริขารที่จำเป็นต้องใช้ในการบวชซึ่งจะขาดเสียมิได้มีอยู่  ๘  อย่าง  เรียกว่า  อัฎฐบริขารกล่าวคือ  บาตร  อันตรวาสก  ผ้าสบง  อุตราสงค์  ผ้าจีวร  สังฆาฎิ  ผ้าห่มซ้อน  กายพันธนะ  ผ้าประคตเอว  ปริสสาวนะ  ผ้ากรองน้ำ  สูจิเข็ม  พร้อมด้วย  วาสี  มีดพับหรือมีดโกน
    บทเพลงลูกทุ่ง  กล่าวถึงการที่ต้องใช้เงินซื้อบาตรและผ้าไตรของนาคคนจน  พร้อมกับบอกกล่าวให้คนมาร่วมงานกุศล  คือ  การบวชดังบทเพลงว่า
    “...ช้ำเหลือทน  แม่ผมจนขาดคนที่เหลียวมอง  ใคร
    เล่ากอดเงินทอง  เหลียวมองจงอย่าทำขรึม  ให้ขอยืมเงินก่อน
    สึกเมื่อใดผมจะใช้เงินผ่อน  จะคราดไถนาดอน  ขอยืมเงิน
    ก่อนได้ไหม
    ใช้หลายบาทเลี้ยงญาติ  ซื้อบาตร  และซื้อผ้าไตร  ขอแผ่
    กุศลทั่วไป  นาคกำพร้าเมืองไทย ขอจงอย่าได้ตัดรอน
    ขอวอนมาร่วมกุศลบวชคนจนกัน  ได้แว่วเสียงแตร  ผมจะ
    แลหาใคร  บวชปีนี้วันใด  ขอเชิญชาวไร่ชาวนา”
        (ขอยืมเงินบวช  :  จิ๋ว  พิจิตร)
    เทศกาลเข้าพรรษาเป็นฤดูกาลที่พุทธศาสนิกชนมีโอกาสได้
บำเพ็ยกุศลมากที่สุดคือครบทั้ง  ๓  พิธี  ได้แก่บุญพิธี  และทานพิธีพอถึงเทศกาลเข้าพรรษา  พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าจะมีความกระตือรือร้นเป็นพิเศษที่จะบำเพ็ยกุศล  บางพวกก็บำเพ็ญกุศลพิธี  คือการอบรม  พัฒนาจิตใจตนเองให้มีคุณธรรมประจำใจที่สูงขึ้น   ได้แก่  การบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณร  บางพวกก็เริ่มสมาทานรักษาศีล  ๕   และอุโบสถศีลตลอดพรรษาบางพวกก็ตั้งสัจจะอธิษฐานของดเว้นอบายมุข  เช่น  สุรา  การพนัน  สิ่งเสพย์ติดบางชนิดนับว่าเทศกาลเข้าพรรษาเป็นพิธีกรรมที่สามารถลดอบายมุขลงได้
    บทเพลงลูกทุ่ง  กล่าวถึง  การปลูกศรัทธาในการชัดชวนกันไปทำบุญที่วัดและเมื่อถึงวันสำคัฯญในทางพระพุทธศาสนาก็ชักชวนกันไปเวียนเทียนที่วัดเพื่อเป็นพุทธบูชา  ธรรมบูชา  สังฆบูชา  อันหมายถึง  กุศลพิธี  ดังบทเพลงว่า
    “พี่น้องทั่วไปร่วมใจช่วยกัน        วันนี้เป็นวันเข้าพรรษา
    เข้าหรือออกก็บอกบุญมา    ให้ร่วมศรัทธากันทั่วเมืองไทย
    วัดมีมากมายอยู่หลายตำบล        ทางวัดรอคนศรัทธาเลื่อมใส
    ทำบุญกันบ้างว่างว่างก็ไป        วัดเหนือวัดใต้ก็ไปทำบุญ
    วันนี้ตั้งใจจะไปชวนแฟน    เพื่อหาคะแนนมาช่วยเกื้อหนุน
    ร่วมเรียงเคียงใกล้ร่วมใจเจือจุน    ช่วยสมทบทุนด้วยใจศรัทธา
    ทำบุญที่ไหนก็ไปด้วยกัน    วันที่สำคัญทางศาสนา
    คิดถึงความหลังที่นั่งมองตา    อยู่บนศาลาทำบุญร่วมกัน
    เราสบตากันสวรรค์นำส่ง    ก็เลยตกลงมีความสัมพันธ์
    ต่างคนต่างอยู่ต่างรู้ใจกัน    ยังไม่ถึงวันที่ร่วมวิวาห์
    ใครใครก็ชมว่าสมกันดี    พ่อแม่ปรานีไม่เคยกันท่า
    เหมือนคู่บุญอบอุ่นหัวใจ    ไปไหนก็ไปทั้งน้องและพี่
    วันไหนวันว่างเราสร้างความดี    ทำตามหน้าที่การงานเรื่อยมา
    ตั้งใจแน่วแน่ไม่แปรผันเปลี่ยน    จะไปเวียนเทียนวันเข้าพรรษา
    ขอให้ผลบุญเกื้อหนุนนำพา    เป็นคู่วิวาห์ชื่นชมสมปอง”
            (เพลงรักเข้าพรรษา : ขับร้อง  พิมพา  พรศิริ)

bandonradio

ส่งข่าวถึงกันและกัน

Recent Posts

www.bandonradio.blogspot.com = คลื่นแห่งสาระบันเทิง ..

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons