9/7/54

29.ผญาอีสานเชื่อมโยงกับวรรณคำสอนอย่างไร

สุภาษิตหรือวรรณกรรมคำสอน
       วรรณกรรมคำสอนนี้จุดประสงค์สอนประชนชนในด้าน  จริยธรรม  ความประพฤติตลอดถึงการดำเนินชีวิตในสังคม  ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับการสอนศีลธรรมนั่นเอง  ต่างแต่ว่าในภาคอีสานนั้น  กวีมีกุศโลบายที่ดี  ได้นำคำสอนเหล่านั้นมาร้อยกรอง  เพื่อให้กะทัดรัด  สะดวกต่อการจดจำหรือผูกเป็นเรื่องๆไป  วรรณกรรมคำสอนเหล่านี้บ้างครั้งพระสงฆ์ก็นำมาเทศน์บ้างเพราะมีผญาภาษิตหรือบ้างคราวก็นำไปอ่านในงานชุมนุมเป็นต้น
       ลักษณะทั่วไปของวรรณกรรมคำสอน  มีลักษณะเหมือนกับโคลงโลกนิติ  สุภาษิตสอนหญิงของภาคกลาง  จำนวนภาษิตของวรรณกรรมคำสอนเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำของชาวอีสานอย่างยิ่ง  ผู้สูงอายุเกือบทุกคนจะทราบว่าวรรณกรรมคำสอนมีเรื่องอะไรบ้าง  นอกจากนี้แล้วหมอลำมักจะหยิบยกเอามาลำสลับกันไปกับลำอื่นๆ  เช่น  เมื่อลำเรื่องพื้นนานๆเข้าผู้ฟังไม่ค่อยสนใจ หมอลำก็จะเปลี่ยนเป็นลำผญาบ้าง  ลำโจทย์บ้าง  (หมอลำกลอนลำถามกัน)  ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้ชาวอีสานมีความใกล้ชิดกับวรรณกรรมประเภทคำสอนมากยิ่งขึ้นไป  วรรณกรรมคำสอนเหล่านี้นั้นมีอิทธิพลต่อแนวความเชื่อของคนอีสานตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน  ก็ยังนิยมนำมาสอนลูกหลานอยู่เสมอมา  ดังนั้นวรรณกรรมส่วนนี้จะเป็นดังแสงประทีปที่ส่องแสงสว่างให้ชาวอีสานตลอดมา  เป็นคำสอนในเชิงศิลธรรมที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุดอย่างเช่นอย่าทำชั่ว  ให้พากันทำดี  อย่าเบียนเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน  และยังมีลักษณะเป็นแนวทางในเชิงห้ามปรามเอาไว้  ชาวอีสานทราบดีในคำว่า  “ขะลำ”หมายถึงสิ่งอันเป็นอัปมงคล  ทำมาหากินไม่เจริญรุ่งเรืองหรือเป็นไปในลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับเพศหรือวัยของคนนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะสั่งห้ามเข้าไว้ว่ามันขะลำนะอย่าทำนะลูกหลานมันขวง(คือเป็นเสนียด  จัญไร  ฉิบหาย)  ดังนั้นจึงทำให้วรรณกรรมในฝ่ายคำสอนยังได้รับความนิยมตลอดมา 
       วรรณกรรมคำสอนในภาคอีสานนี้มีอิทธิพลอย่างมากและไม่น้อยไปกว่าวรรณกรรมทางพุทธศาสนาและชาวบ้านจะเชื่อฟังคำสอนในวรรณกรรมเหล่านี้เป็นประดุจดังกฏหมายของบ้านเมือง  จึงปรากฏว่าสภาพสังคมในชนบทของอีสานนั้นอยู่กันอย่างสันติสุขแบบพึงพากันเองช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  มีงานสิ่งใดที่จะต้องช่วยกันก็จะขอแรงกันมาช่วยเหล่านี้เป็นกิจนิสัยของชาวชนบทอีสานอย่างแท้จริง  เพราะอิทธิพลในด้านคำสอนจึงไม่ค่อยเห็นผู้ใดทำผิดจารีตประเพณีเลยเพราะเกรงจะผิดผีบ้างมันขะลำบ้างมันจะขวงบ้าง  ซึ่งปรากฏการอันนี้เกิดจาอิทธิพลของวรรณกรรมคำสอนด้วยส่วนหนึ่งและจารีตประเพณีก็มีส่วนสนับสนุนส่งเสริมด้วยเป็นสองแรงช่วยผลักดันให้คนอีสานมีน้ำอดน้ำทนมีน้ำจิตน้ำใจต่อเพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมประเทศเสมอมาไม่เคยทำให้คนอื่นเดือนร้อยก่อนเลย
    วรรณคำสอนกับธรรมชาติของมนุษย์
       ธรรมชาติของคนมีทั้งดีและเลวปะปนกันอยู่  วรรณกรรมคำสอนของอีสานเน้นให้เห็นชัดว่า  เนื้อแท้โดยธรรมชาติของมนุษย์เรานั้นดีบริสุทธิ์มาแต่กำเนิดแต่สิ่งแวดล้อมทำให้มนุษย์ต้องเลวได้เพราะการหลงผิด  ดังนั้นวรรณกรรมคำสอนจึงเป็นเหมือนเชือกที่คอยชักจูงไม่ให้คนอีสานหลงเดินทางชั่วเพราะวรรณกรรมส่วนนี้นั้นจะสอนในทางจริยธรรมข้อควรประพฤติของคนเราและสังคมด้วย  จึงเน้นหนักไปทางจารีต(ฮีต)  และคองเพื่อคอยเตือนพี่น้องชาวอีสานไม่ให้หลงผิดเป็นชอบ  ด้วยอำนาจของเจ้าอวิชชา ตัณหา  และกิเลสเข้าครอบงำซึ่งจะสอนทุกเพศ  ทุกวัย  ทุกชั้นวรรณของสังคมไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง  ซึ่งคำสอนจะบ่งชี้ในด้านจริยธรรมของนักปกครองที่ดีเอาไว้  ไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์จะสอนในเรื่องฮีตพระครองสงฆ์ไว้เหมือนกับวินัยแต่จะเน้นในด้านหน้าที่ควรทำของนักบวช  ไม่ค่อยมีสอนมากนักเพราะท่านมีวินัยทางพระอยู่แล้ว   แต่สำหรับฆราวาสแล้วมีมากมายดังจะนำมากล่าวไว้ในที่นี้  ๕  ลักษณะ คือ
    วรรณกรรมคำสอนระหว่างสามี+ภรรยา  ลูก+หลาน+เครือญาติ
       โดยเน้นไปในทางความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคนในครอบครัวและกำหนดหน้าที่ของคนเหล่านี้เอาไว้ด้วย  คือทุกฝ่ายต่างมีหน้าที่ของใครของมันอย่างเด่นชัด  ดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมเรื่อง  ธรรมดาสอนโลก,  ท้าวคำสอน , สันทนยอดคำสอน  พระยาคำกองสอนไพร่  วรรณกรรมเหล่านี้จะเน้นความสัมพันธ์ของคนในสังคมได้ดี  และสอนหน้าที่ของสามและภรรยาไว้อย่างมากมาย  เพราะสังคมที่จะดีมาได้นั้นต้องมาจากครอบครัวที่ดีและสมบูรณ์เพราะเป็นสังคมระดับเล็กที่สุด  เช่นหน้าของภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามีมีอย่างไร  สามีพึงมีข้อปฏิบัติอย่างไรกับภรรยาตนเอง  ลูกมีหน้าที่อย่างไรกับพ่อแม่  หลานๆมีหน้าที่อย่างไรกับคุณปู่คุณย่า  จึงมีวรรณกรรมประเภทหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า  “ปู่สอนหลาน  ย่าสอนหลานเป็นต้อน  เพราะหน้าที่อันนี้เป็นของปู่ยาตายายอยู่แล้วที่จะปลูกฝังศีลธรรมให้แก่ลูกหลาน  ให้รู้จักบาป บุญ  และอื่นๆอีกมากมายที่ย่าจะพึ่งสั่งสอน
    วรรณกรรมคำสอนกับผู้ปกครอง-และผู้อยู่ใต้ปกครอง
       วรรณกรรมส่วนนี้ได้เสนอแนวการสอนให้มีเมตตากรุณาต่อผู้น้อย(บ่าวไพร่)ไว้อย่างชัดเจนเพราะจะไม่ทำให้เกิดความเดือนร้อนทั้งสองฝ่ายคือไม่ให้มีอคติสี่ประการในการเป็นผู้นำและผู้ใต้ปกครองก็จะเป็นคนมีคุณธรรม  คือผู้ปกครองจะเป็นใหญ่ได้ก็เพราะมีผู้ใต้ปกครองดี  ดังจะเห็นได้จาก  “ครองสิบสี่”  ของชาวอีสานที่ยึดถือกันมาแต่บรรพบุรุษ  นอกจากนั้นยังได้กล่าวสอนในเรื่องการบรรเทาทุกข์ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเช่นมีการสงเคราะห์กัน  อนุเคราะห์กันและกันเมื่อคนอื่นมีความเดือนร้อน  เรียกว่าการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน  พร้อมทั้งมีความฉลาดในการเลือกผู้ที่จะมาเป็นขุนนางด้วย  หรือเลือกท้าวพระยามหาอำมาตย์  ตลอดจนทูตานุทูต    และเน้นในเรื่องจริยธรรมของปวงประชาราษฎรเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง  จะมีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพระยาคำกองสอนไพร่เป็นต้น
    วรรณกรรมคำสอนกับสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
       วรรณกรรมประเภทคำสอนนี้มุ่งที่จะสอนสตรีมากกว่าบุรุษ  และกำหนดหน้าที่ของสตรีเข้าไว้มากกว่าของบุรุษ  อาจจะเป็นเพราะในอดีตนั้นสตรีอยู่กับเย้าเฝ้ากับเรื่อนจึงมักจะสอนให้รู้จักหน้าที่ของหญิง  เพราะผู้หญิงเป็นมารดาของโลกก็ว่าได้  เมื่อมารดาดีลูกก็ดี  ดังนั้นวรรณกรรมคำสอนจึงเห็นว่าสอนสตรีไว้หลายแง่มากมายเริ่มจากรู้จักทอผ้า  เป็นต้น  และวรรณกรรมที่ม่งสอนก็มีเรื่อง  ท้าวคำสอน  จะเน้นไปในลักษณะสตรีแบบไหนควรเลือกมาเป็นภรรยา มีทั้งหมด  ๔๐  กว่าลักษณะคล้ายกับเป็นการดูนรลักษณ์ผู้หญิงอันแฝงไปด้วยภูมิปัญญาของผู้แต่งได้เป็นอย่างมากที่รู้ลักษณะผู้หญิงที่ละเอียดคล้ายกับเรื่องมายาของหญิงที่ปรากฏในพุทธศาสนา  ๔๐ประการ  และมีเรื่องอินทิญาณสอนลูก(สอนหญิง)  ธรรมดาสอนโลก  สิริจันโทยอดคำสอน  ย่าสอนหลานเป็นต้น
    วรรณกรรมกับผู้ใหญ่+ผู้น้อย
       วรรณกรรมประเภทคำสอนนี้มุ่งที่จะสั่งสอนเด็กให้เห็นความสำคัญของความกตัญญูรู้คุณผู้มีบุพการีของตนเอง  อาทิเช่น  พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา และยาย  เมื่อท่านดำรงชีวิตอยู่ให้ตระหนักถึงพระคุณของท่านเหล่านี้  และดูแลท่านเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย  และเมื่อเวลาท่านละจากโลกไปแล้วทำบุญอุทิศส่งไปให้ท่าน  นอกจากนั้นยังสองให้รู้จักความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ให้มีสัมมาคารวะเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน  วิธีที่ทำคือจะพรรณนาถึงคุณที่ท่านได้อุตสาห์เลี้ยงดูลูกหลานมาเรียกว่าพระคุณของพ่อแม่  วรรณกรรมในเรืองนี้คือ ปู่สอนหลาน  ย่าสอนหลาน  อินทิญาณสอนลูก  และวรรณกรรมคำสอนในเรื่องอื่นๆที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานบ้าง  เป็นต้น
    วรรณกรรมคำสอนในด้านธรรมชาติ
       เป็นการสอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวมนุษย์กับธรรมชาติ  โดยเน้นหนักในเรื่องที่มนุษย์เราจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ  และมีความเหมาะสมพอดีกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ โดยสั่งสอนให้มนุษย์เคารพยำเกรงธรรมชาติ  อันได้แก่วิญญาณต่างๆที่สิ่งสถิตอยู่ในธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์  อาจจะบันดาลให้คุณหรือโทษวรรณกรรมคำสอนจึงสอนให้ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียด  ดังมีกล่าวไว้ในเรื่อง  ธรรมดาสอนโลก  เน้นการนำไม้อย่างไรมาปลูกบ้านจึงจะเหมาะสมหรือเป็นมงคล  บอกถึงการแสวงหาต้นไม้มาทำเป็นเสาเอกเสาโทของบ้าน  และบอกว่าไม้อย่างไรไม่ควรนำมาใช้สร้างบ้านโดยอ้างว่า  มันขะลำหรือเข็ดขวงเป็นการห้ามเอาไว้ของคนโบราณเพราะอาจมองเห็นว่าไม้บ้างอย่างนำมาทำแล้วอาจจะทำให้บ้านไม่มั่นคงถาวร  หรือเกิดการบิดงอได้ง่ายเพราะไม้มีความอ่อนนั้นเองจะทำให้ไม่ทนแดดทนฝน  โบราณจึงนำเอาคำว่าขะลำมาห้ามเอาไว้คนเราจึงจะเชื้อ  เพราะสอนให้เห็นว่าอาจจะมีเทวดาสิงสถิตย์อยู่บ้างหรือในบริเวณดอนปู่ตาเป็นต้น  เพราะชาวอีสานเคารพยำเกรงในเรื่องเหล่านี้มากทีเดียว
    วรรณกรรมคำสอนกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
       โดยสอนเน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนด้วยกันในลักษณะเป็นการสามัคคีกันช่วยเหลือกันและกันในด้านต่างๆของสังคมเช่น  การขอแรงกันสร้างบ้าน, เกี้ยวข้าว ,และอื่นๆอาทิในด้านพิธีกรรมในสังคมที่คนเราจะต้องร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกัน  โดยมีวรรณกรรมคำสอนเป็นแก่นกลางในการผสานความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ  ให้มีแนวความคิดไปในทางเดียวกันง่ายทั้งการปกครองและการสั่งสอนด้วย  เช่น  งานแต่ง งานเลี้ยงผีปู่ตา  ผีตาแฮก  และพิธีของฝนด้วยการแห่นางแมว  แห่บั้งไฟ  และการไหว้ผีมเหสักข์หลักเมืองสิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่คนจะต้องร่วมแรงกันทำไม่ว่าผู้ปกครองหรือพระสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมกันทำขึ้น  วรรณกรรมคำสอนในด้านนี้มักจะเป็นฮีตสิบสองคลองสิบสี่เป็นหลัก  แต่อย่างไรก็ดีวรรณกรรมคำสอนของชาวอีสานยังเน้นในความผูกพันธ์ระหว่างพี่น้องลุง ป้า นา อา เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสอนให้มนุษย์รู้จักแบ่งปันความสุขกัน  และรู้จักให้ทานแก่คนยากจนอนาถาตามแนวพุทธปรัชญาและคตินิยมในทางพระพุทธศาสนาด้วย69
            สรุปลักษณะของการเกิดสุภาษิตอีสาน
       สุภาษิตอีสานนั้นมีสายธารของการเกิดขึ้นจากหลายกระแสด้วยกัน   ทั้งที่เกิดจากพระพุทธศาสนาโดยตรงก็มีอยู่มากมาย  โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพระศาสนาเป็นหลักจะมีทั้งทางพิธีกรรม  ทางคำสอนชาดกต่างๆนำมาแต่งเป็นนิทานชาดก  เพื่อปลูกฝังศรัทธาต่อชาวอีสานให้ยึดถือปฏิบัติกัน  และสายธารที่สองนั้นเกิดจากชาวบ้านเองเป็นผู้คิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองในด้านความบันเทิงบ้าง  ในงานพิธีต่างๆบ้างเช่นงานบุญ  งานเกี้ยวข้าว  ฯลฯ   สุภาษิตอีสานโดยภาพรวมจึงเกิดมาจากวรรณคดีทั้งทางศาสนาและประเพณีวัฒธรรมของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่  เพราะวรรณกรรมต่างๆมีเอกลักษณ์เฉพาะตน  คือใช้วรรณกรรมคำสอนทั้งสองสายเป็นสื่อในการสั่งสอนจริยธรรมตลอดถึงวิถีดำเนินชีวิต  ตามความเชื่อและมีการตัดสินความดีความชั่วในสังคมด้วย   ดังนั้นสุภาษิตอันเกิดจากวรรณกรรมคำสอนทั้งสองสายจึงเป็นภาพสะท้อนถึงชีวิตคนและสังคมชาวอีสานได้เป็นอย่างดี
       สมปอง  จันทคง  ให้เหตุผลว่าสุภาษิตนั้นเกิดจากเหตุการณ์เหล่านี้คือ  เกิดจากวัดและบ้านคือเป็นสถาบันที่ให้การสร้างสรรค์วรรณกรรมท้องถิ่น  ในสังคมชาวบ้านนั้น  วัดจะมีบทบาทอย่างมากในการทำกิจกรรมต่างๆ  ของชุมชน  ความเชื่อในอานิสงส์ของการเขียนหนังสือถวายวัด  การทำหอพระไตรปิฏกหรือตู้พระธรรมอันเป็นแหล่งเก็บรวบรวมวรรณกรรมลายลักษณ์ในรูปของหนังสือข่อยหรือในใบลานเป็นต้น  พิธีกรรมในพุทธศาสนาก็มีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดวรรณกรรม  การจดจำบอกเล่ากล่าวสอนกันต่อๆมา  โดยเฉพาะผู้ที่เคยผ่านการบวชเรียนมาแล้วก็จะเป็นผู้นำของกลุ่มชนในหมู่บ้าน  ในการทำพิธีต่างๆ  ในการอ่านหนังสื่อผูก  หรือสอนวิธีการแต่งบทร้อยกรอง เป็นต้น137   ผู้อ่านหนังสือผูกได้  ส่วนมากจะเป็นผู้ที่เคยบวชเรียนมานาน  มักเป็นบุคคลที่ชาวอีสานเรียกชื่อมีคำนำหน้าว่า  “จารย์หรือจารย์ครู”  หมายถึงบุคคลที่เมื่อครั้งครองสมณเพศได้ถูกชาวบ้านถวายน้ำสรงยกย่องให้เป็น  “ญาซา”  หรือ  “ญาครู”  ชาวอีสานเรียกพิธีสถาปนาพระสงฆ์ลักษณะนี้ว่า  “พิธีหด”  ญาซาเมื่อลาสิกขาจะถูกเรียกว่า  “จารย์”  ญาครู(พระครู)  เมื่อลาสิกขาจะถูกเรียกว่า  “จารย์ครู”  สมัยนั้นตำราในทางพระพุทธศาสนา  นิยมจารึกไว้ด้วยอักษรธรรม  อักษรไทยน้อย  และอักษรขอม  ผู้บวชเรียนในสมัยนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาอักษรดังกล่าวด้วย  ผู้ใดอ่านได้คล่อง  สอดใส่อารมณ์ในการอ่านได้ดี  มีปฏิภาณอธิบายท้องนิทานได้อย่างเร้าใจ   ให้ความหมายถ้อยคำที่เป็นภาษาโบราณได้ถูกต้อง  จะได้รับความนิยมให้เป็นผู้อ่านเสมอ  จนผู้อ่านบางท่านจำได้ทั้งเรื่อง  หนังสือผูกนอกจากจะนิยมอ่านในโอกาสดังกล่าวแล้ว  ยังมีผู้นำเอาไปท่องเป็นทำนองแล้วนำไปลำ  เรียกว่า  “ลำพื้น”  หรือ  ลำกลอน”138สุภาษิตอีสานเกิดจากวรรณกรรมท้องถิ่น  เพราะว่าท้องถิ่นย่อมมีวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งเป็นที่มาของวรรณกรรมท้องถิ่นนั้นๆ  วรรณกรรมอีสานก่อเกิดมาจากนักปราญ์อีสานเองด้วยเหตุนี้เองวรรณกรรมอีสานจะมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นนั้น  วรรณกรรมอีสานจึงมีรูปแบบดังนี้คือ
    ๑)  ใช้ภาษาถิ่นอีสานในการจารึก
    ๒)  จารึกด้วยอักษรท้องถิ่น  อันได้แก่อักษรตัวธรรมอักษรไทยน้อย  อักษรตัวธรรมใช้บันทึกวรรณกรรมศาสนา  และตำราวิชาการต่างๆ ส่วนอักษรไทยน้อยใช้บันทึกวรรณประเภทนิทานชาดก 
๓)  ฉันทลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน  มีลักษณะเป็นโคลงสาร(กลอนอ่าน,กลอนลำ) กาพย์(กาพย์เซิ้ง) และร่าย(ฮ่าย)  บทผญาสุภาษิต  ดังกล่าวนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับหลักธรรมแล้ว  บางบทยังสุขุมลุ่มลึกก็มีทั้งที่เป็นปริศนาธรรม  สุภาษิต  คติธรรม  หลักคำสอนในด้านจริยธรรม  ทั้งที่เป็นบทร้อยกรอง  คำกลอน  กวี  โคลง  กาพย์  ฮ่าย  ดังนั้นผญาภาษิตนั้นมีลักษณะเป็นหมู่คำซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ
๓.๑)  มีลักษณะคล้องจองกันในเชิงสัมผัสฟังแล้วรื่นหู  ซึ่งอาจจะเป็นร้อยกรองหรือเป็นกาพย์และกลอนก็ได้
๓.๒)  มีความหมายลึกซึ่งผู้ฟังหรือผู้อ่านต้องใช้ปัญญาหยั่งรู้จึงจะเข้าใจในความหมายทั้งความหมายตามตัวอักษร  และความหมายแฝงเร้นในข้อความหรือถ้อยคำนั้นๆ
๓.๓)   เป็นหมู่คำที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตและปรัชญาในการดำเนินชีวิต
๓.๔)   เป็นหมู่คำที่แสดงออกในเชิงการมีไหวพริบปฏิภาณของผู้พูด139
       ดังนั้นบทผญาอีสานขึ้นจากแรงดลใจหลายกระแส  เช่น
    ๑)  เกิดจากการทำมาหากินเลี้ยงชีพในวิถีที่ต้องเผชิญอยู่เป็นประจำวัน
    ๒)  เกิดจากประเพณีวัฒนธรรมที่ชาวอีสานถือปฏิบัติสืบทอดกันมา  เช่นประเพณีการลงข่วงเข็นฝ้าย  การตำข้าว  การลงแขก  การชุมนุมกันในงานบุญ  และในเทศกาลต่างๆเป็นต้น
    ๓)  เกิดจากศาสนา  ศาสนาคือวัด  และพระตลอดถึงหลักคำสอน  เป็นแหล่งสำคัญไม่น้อยที่ทำให้เกิดบทผญาภาษิต  เช่นการฟังเทศน์  ฟังหนังสือผูก  เช่น  เรื่องไชยเชษฐ์  สังข์ศิลป์ชัย  จำปาสี่ต้น  หูดสามเปา  ท้าวนกกระจอก  ขูลูนางอั้ว  ท้าวผาแดงนางไอ่  นางผมหอม  การละเกด  และเสียวสวาสดิ์  เป็นต้น  ซึ่งมักจะนำไปอ่านในงานต่างๆ  เช่นงานศพและงานบุญต่างๆ  อันเกี่ยวกับงานมงคลอื่นๆ
    ๔)  เกิดจากความเป็นไปในสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ  ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิด  ผญา  การจ่ายบทผญา  และการสืบทอดผญาทั้งสิ้น140  สรุปรวมได้ว่าสุภาษิตอีสานมีบ่อเกิดมาจากวรรณกรรมคำสอนทางพุทธศาสนา  และวรรณกรรมท้องถิ่นหรือวรรณทางศาสนาและวรรณกรรมของชาวบ้านนั้นเอง

ลักษณะวรรณกรรมอีสาน
       ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากนิทานชาดกในพุทธศาสนา  ดังนั้นจึงมีการวางโครงเรื่องต่างๆที่มีลักษณะคล้ายกับชาดกนั้นๆ  โดยมีพระราชา  มเหสี  มีพระราชโอรส  และพระราชธิดา  มีการศึกษาและมีการพลัดพรากจากพระนครไป  ตอนสุดท้ายก็ได้กลับเข้ามาครองราชสมบัติเหมือนเดิม  วรรณกรรมอีสานมักจะเน้นให้เห็นว่าเป็นผู้มีบุญบารมีการมาเกิด  โดยเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีให้เต็ม  และมีการชดใช้กรรมเก่าในชาติปางก่อน  ตัวเอกของเรื่องมักจะถูกรังแกจากฝ่ายอธรรม  แต่ด้วยบุญบารมีจึงทำให้รอดพ้นจากภัยพิบัติได้ในที่สุด  ในท้ายเรื่องกวีมักจะประพันธ์ให้ตัวเอกของเรื่องเป็นฝ่ายชนะฝ่ายมาร  แล้วประมูลนิทานชาดกนั้นๆว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า  และในชาติสุดท้ายก็ได้มาเกิดร่วมกันอีก  ดูแล้วก็ไม่แตกต่างอะไรกับชาดกในพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้ามักจะประมูลชาดกนำมาสั่งสอนภิกษุในครั้งพุทธกาลนั้นเลย   กล่าวโดยสรุปแล้วโครงสร้างวรรณกรรมอีสานนั้น  กวีมักจะเน้นให้เห็นบทบาทของตัวละครที่เป็นฝ่ายปกครองบ้านเมืองในลักษณะของอุดมคติของสังคมชาวอีสานในอดีต  คือ  มีความกล้าหาญ  มีอิทธิฤทธิ์  มีบุญญาบารมี  และเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม 

จุดหมายของวรรณกรรมอีสาน
       วรรณอีสานมีเนื้อเรื่องที่อิงอาศัยอยู่กับหลักธรรมของพระพุทธศาสนา  ทั้งนิทานคติธรรมและวรรณกรรมชาดก  ฉะนั้นแก่นแท้ของเรื่องจึงมุ่งที่จะสั่งสอนหลักธรรมตลอดถึงศีลธรรมอันดีงามให้
แก่ระบบสังคมโดยส่วนรวมแล้ว ลักษณะของวรรณกรรมที่กล่าวมานั้นจะเป็นการสอนในด้านจริยธรรมผสมผสานกับหลักพุทธศาสนา  โดยเน้นให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องบาปบุญคุณโทษที่ไม่ยอมปฏิบัติตามหลักคำสอนตลอดถึงความเชื่อในเรื่องชาติหน้า  โดยจะเห็นได้จากเรื่องพระเวสสันดรชาดกที่กล่าวว่าใครฟังให้ครบทั้งพันพระคาถาในหนึ่งวันจะได้เกิดทันศาสนาของพระศรีอาริย์เป็นลักษณะการที่หวังผลเกินคาด  คือทำน้อยแต่ได้ผลมากเกินกว่าที่มนุษย์เราต้องลงมือทำ  น่าจะเป็นในส่วนของพระอรรถกถาจารย์ต้องการให้คนนำเอาแบบอย่างของตัวละครที่แสดงมากกว่าอย่างอื่น  คือสอนให้รู้จักการเสียสละเพื่อบำเพ็ญทาน  ให้รู้จักการรักษาศีลและภาวนาเฉกเช่นเดียวกับที่พระเวสสันดรได้ทรงทำเป็นแบบอย่างมากกว่าที่ต้องนั่งฟังโดยไม่รู้อะไรเลย  ดังนั้นวรรณกรรมอีสานมีหลายๆอย่างที่ปรากฏอยู่อย่างมากหมาย  อาทิเช่น 
    ๑)  จารีตวรรณกรรม   วรรณกรรมทั้งที่เป็นเชิงประวัติศาสตร์  เชิงนิทานธรรม และเชิงปรัชญาธรรมที่อยู่ในกลุ่มคำสอน  ก็ย่อมเป็นวรรณกรรมเพื่อสั่งสอนให้ชาวอีสานได้รู้จักธรรมเนียมต่างๆที่ตัวละครแสดงออก  อย่างเช่น  บทรักที่ปรากฏในวรรณเรื่องขูลู่นางอั้ว  ซึ่งมีทั้งที่เป็นบทผญารัก(ผญาเครือ)อยู่มากหมายและแสดงให้เห็นความรักจริงของนางอั้ว  ที่มีคำมั่นสัญญาเอาไว้กับขูลูแล้วแม้ว่าคุณแม่จะไม่เห็นด้วยกับความรักของนางก็ตาม  นางอั้วก่อนจะผูกคอตายก็ได้แสดงความรักที่แม่มีให้โดยกล่าวอำลาไว้อย่างน่าสนใจ  อันเป็นบทโศกที่สะเทือนอารมณ์ได้เป็นอย่างดี  และวรรณกรรมนิทานธรรมอีกหลายเรื่องกวีก็ได้พรรณนาฉากเหล่านี้ไว้อย่างมากมายเช่นนี้เรียกว่า  เป็นจารีตทางวรรณกรรมของชาวอีสาน  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือ  เมื่อตัวเอกของเรื่องเกี้ยวพาราสีกันกวีมักจะนำเอาบทผญาเกี้ยวสาวเอามาใส่ไว้ตามประเพณีอีสาน  ไม่นิยมบทอัศจรรย์แต่ใช้วิธีบรรยายตรงไปตรงมา  และนิยมบทสั่งสอน เช่นเรื่องท้าวคำสอนเป็นต้น
    ๒)  ใช้วรรณกรรมเป็นสื่อในการสั่งสอนให้รู้จักหลักทางจริยธรรมต่างๆ  เช่น  จริยทางด้านการเมืองการปกครอง  ใช้วรรณกรรมที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นแบบอย่างของการถ่ายทอดขนบธรรมเนียมและประเพณีของสังคมตลอดถึงใช้เป็นสื่อในการให้ความรู้ชนิดอื่นเช่น  ตำรายาแผนโบราณ  ตำราหมอดู  ตำราวิทยาคมต่างเป็นต้น  ในวรรณกรรมอีสานมีเนื้อหาที่เป็นคำสอนหลายอย่างที่ไม่ใช้คำสอนทางพระศาสนา  แต่เป็นคำสอนที่เกี่ยวกับฮีตคลองและขนบธรรมเนียม  ประเพณีความเชื่อของคนอีสาน  คำสอนที่มีอยู่ในวรรณกรรมเหล่านี้เป็นประหนึ่งว่า  เคื่องมือที่จะกำหนดวิถีชีวิตของชาวอีสานโดยจะถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง 
        จะพบเห็นจากวรรณกรรมประเภทนิทานธรรมที่เข้ามีบทบาทในคติความเชื่อของคนไทยอีสานเป็นอย่างยิ่ง  และฮีตสิบสองคลองสิบสี่อันเป็นจารีตนิยมที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างไรก็พากันทำต่อไปอย่างนั้น  เพราะชาวอีสานเคารพเชื่อฟังคนในสมัยโบราณหรือบรรพบุรุษ  ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมต่างๆเช่น  พิธีกรรมสู่ขวัญต่างๆเป็นต้น  ดังนั้นวรรณกรรมต่างๆในภาคอีสานจึงมีจุดเด่นที่สำคัญคือ  สั่งสอนให้ชาวบ้านตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม  ให้ตั้งตนเองอยู่ในศีล  ให้เป็นคนรักเพื่อนฝูง  เคารพยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่  จะเห็นได้จากวรรณกรรมย่าสอนหลายที่คุณย่ามักจะมุ่งสั่งสอนถึงศีลธรรมอันดีงามให้แก่สังคม  ให้มีความสงบสุขโดยสอนแทรกอยู่ในจริยาวัตรของตัวละคร  หลักธรรมเหล่านั้นกวีมักจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวพุทธและจารีตประเพณีของอีสานด้วย  โดยมีหลักธรรมดังนี้คือ
    ๓) กฎแห่งกรรม  วรรณกรรมอีสานส่วนใหญ่มักจะเน้นเรื่องกฎแห่งกรรม  คือทำดีได้ดี   ทำชั่วได้ชั่ว  ฉะนั้นจึงพบว่าสุภาษิตอีสานต่างก็ออกมาจากวรรณคดีอีสานทั้งสิ้น  โดยเน้นให้เห็นถึงผู้มีความโลภ  โกรธ  หลง  มักจะได้รับวิบากกรรมในบั้นปลายของชีวิต
    ๔) กฎแห่งสังสารวัฏ  วรรณคดีอีสานส่วนมากจึงมักจะเสนอให้เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดจะดีหรือเลวก็อยู่ที่ผลของกรรมที่ตัวเองทำทั้งสิ้น  นั่นคือมนุษย์ที่เกิดในชาตินี้ย่อมเสวยผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ในชาติปางก่อนทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นพระราชา  หรือยาจก  ตลอดถึงพระโพธิ์สัตว์ที่ลงมาเกิด  กวีก็เน้นให้เห็นกรรมในอดีตชาตินั่นคือการถูกฝ่ายอธรรมรังแกจนต้องพลัดพรากจากพระนครไปแต่ผู้เดียว  แต่สุดท้ายก็กลับมามีชัยชนะ
    ๕)  กฎพระไตรลักษณ์  คือกวีมักจะเสนอให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนั้นคือ  อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  วรรณคดีของอีสานก็จะสอนให้รู้ถึงความไม่เที่ยงเหล่านี้ ไว้เสมอ
    ๖)  อำนาจ  คือวรรณคดีอีสานบางเรื่องก็เน้นให้เห็นว่าธรรมชาตินั้นมีอำนาจเหนือมนุษย์  และสามารถให้คุณหรือให้โทษแก่มนุษย์ได้  มนุษย์ต้องมีความเกรงกลัวต่อวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในธรรมชาติเหล่านั้น  เป็นระบบวิญญาณนิยมขึ้นมา  โดยจะอยู่ในรูปของอมนุษย์  เช่น  ครุฑ  นาค  ยักษ์  ท้าวมเหศักดิ์หลังเมือง  หรือวิญญาณบรรพบุรุษ  ฯลฯ
    ๗)  เชื่อในชาติหน้า   คือวรรณกรรมมีจุดหมายเพื่อสร้างความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาล  วรรณคดีอีสานจะดำเนินเรื่องอยู่กับโลกในเชิงจิตวิสัย  นั่นคือ  โลก  สวรรค์  นรก  เมืองบาดาล  และโลกของพระศรีอารย์  และมีการสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีอีสาน  ดังนั้นแก่นเนื้องหาสาระของเรื่องจึงมักจะนำเอาหลักธรรมมาแทรกเอาไว้ด้วย  เพื่อสั่งสอนคนให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี

bandonradio

28.สรุปหลักจริยธรรมที่ปรากฏในคำผญาอีสาน

สรุปหลักจริยธรรม
    พุทธศาสนิกชนชาวอีสานโดยทั่วไปรู้จักเบญศีลกันเป็นอย่างดี  อันเนื่องจากคำสอนของพระพุทธศาสนากับสุภาษิตอีสาน  ซึ่งจะสอนให้รู้จักว่าความสำคัญของชีวิตมนุษย์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรักษาศีลให้มั่นคง  ไม่ล้วงละเมิตในข้อบัญญัติเพราะว่าศีลเป็นสิ่งที่เลิศกว่าสิ่งใดในโลก  ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญญาตามมาในภายหลังแม้แต่เทวดาก็ยังชนะได้เพราะอำนาจของศีลและยังมีคุณลักษณะของศีลอีกอย่างคือมนุษย์เราถือตัวเองว่าประเสริฐสุดก็ตรงมีศีลและมีความละอายต่อบาปซึ่งเป็นเสมือนรั้วที่ป้องกันตัวเองดังมีพระพุทธภาษิต
“ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้  ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด  ความชนะ
ในหมู่มนุษย์และเทวดา  ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา” …ศีลเป็นกำลัง
ที่ไม่มีที่เปรียบ  ศีลเป็นอาวุธสูงสุด  ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐ
สุด  ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์  (ขุเถระ26/358 
การรักษาศีลนั้นมีความสำคัญ  ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลอุโบสถ  ซึ่งลูกผู้ชายทุกคนควรจะตระหนักถึง  ซึ่งจะทำให้ระบบทางสังคมหรือสังคมในครอบครัวมีแต่ความสันตุสุข  แต่ถ้าหากว่าสังคมในโลกนี้ขาดศีลธรรมแล้วจะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย  ซึ่งจะมีปัญหาตามมาอีกมากมายเพราะการล่วงละเมิดในศีลขั้นมูลฐานคือศีลห้าให้มั่นคงดังสุภาษิตอีสานที่มีนัยตรงกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา  ว่า
“ ปาณานั้นบ่ให้ฆ่ามวลหมู่ชีวิต        อทินนาบ่ให้ลักโลภของเขาแท้
กาเมบ่ให้หาเสพเล่นกามคุณผิดฮีต    เจ้าของมีอย่าใกล้ให้หนีเว้นหลีกไกล
อันว่ามุสานั้นคำจาอย่าตั่วะหล่าย    คำสัจจะมีเทียงมั่นระวังใว้ใส่ใจ
โตที่ห้าคือสุราปัญหาใหญ่        ฮอดเมรัยอย่าได้ใกล้มวลนี้สิบ่ดี
เสียสติจริงแท้กรรมเวรบ่ได้ปล่อย    ความถ้อยฮ้ายสิไหลเข้าสู่ตัวฯ
“ไผถือศีลหมั่นไว้พุทโธย้องว่าดี        ถือศีลดีแล้วเวรังให้เว้นหลีก
ไผจักชวนชักให้เป็นฮ้ายอย่ากระทำ    ให้มีสัจจังตั้งถือศีลหมั่นเที่ยง
บ่มีได้เบี่ยงเลี้ยวบุญล้นยิ่งประมาณ    เวรบ่มีตำต้องศีลธรรมอันประเสริฐ
เมื่อถื่อหมั้นศีลนั้นก็อยู่เต็ม        ทั้งศีลห้าแปดนั้นโลกแต่งปางปฐมแท้ดาย
ในศีลธรรมเฮาหมั่นคณิงให้เห็นแจ้ง    ชายนั้นเว้นชั่วให้เฮ็ดแต่ทางดี
อย่างประมาทศีลธรรมชาติชายสกุลกล้า    ศีลห้าตั้งไว้ให้ใจตั้งต่อศีลแท้แล้ว”(มนัส

๕.๓  สรุปความเชื่อในคำสอนอีสานโดยภาพรวม
    ๑)  กฎแห่งกรรม  วรรณกรรมอีสานส่วนใหญ่มักจะเน้นเรื่องกฎแห่งกรรม  คือทำดีได้ดี   ทำชั่วได้ชั่ว  ฉะนั้นจึงพบว่าสุภาษิตอีสานต่างก็ออกมาจากวรรณคดีอีสานทั้งสิ้น  โดยเน้นให้เห็นถึงผู้มีความโลภ  โกรธ  หลง  มักจะได้รับวิบากกรรมในบั้นปลายของชีวิต
    ๒)  กฎแห่งสังสารวัฏ  วรรณคดีอีสานส่วนมากจึงมักจะเสนอให้เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดจะดีหรือเลวก็อยู่ที่ผลของกรรมที่ตัวเองทำทั้งสิ้น  นั่นคือมนุษย์ที่เกิดในชาตินี้ย่อมเสวยผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ในชาติปางก่อนทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นพระราชา  หรือยาจก  ตลอดถึงพระโพธิ์สัตว์ที่ลงมาเกิด  กวีก็เน้นให้เห็นกรรมในอดีตชาตินั่นคือการถูกฝ่ายอธรรมรังแกจนต้องพลัดพรากจากพระนครไปแต่ผู้เดียว  แต่สุดท้ายก็กลับมามีชัยชนะ
    ๓)  กฎพระไตรลักษณ์  คือกวีมักจะเสนอให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนั้นคือ  อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  วรรณคดีของอีสานก็จะสอนให้รู้ถึงความไม่เที่ยงเหล่านี้ ไว้เสมอ
    ๔)  อำนาจ  คือวรรณคดีอีสานบางเรื่องก็เน้นให้เห็นว่าธรรมชาตินั้นมีอำนาจเหนือมนุษย์  และสามารถให้คุณหรือให้โทษแก่มนุษย์ได้  มนุษย์ต้องมีความเกรงกลัวต่อวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในธรรมชาติเหล่านั้น  เป็นระบบวิญญาณนิยมขึ้นมา  โดยจะอยู่ในรูปของอมนุษย์  เช่น  ครุฑ  นาค  ยักษ์  ท้าวมเหศักดิ์หลังเมือง  หรือวิญญาณบรรพบุรุษ  ฯลฯ
    ๕)  เชื่อในชาติหน้า   คือวรรณกรรมมีจุดหมายเพื่อสร้างความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาล  วรรณคดีอีสานจะดำเนินเรื่องอยู่กับโลกในเชิงจิตวิสัย  นั่นคือ  โลก  สวรรค์  นรก  เมืองบาดาล  และโลกของพระศรีอารย์  และมีการสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีอีสาน  ดังนั้นแก่นเนื้องหาสาระของเรื่องจึงมักจะนำเอาหลักธรรมมาแทรกเอาไว้ด้วย  เพื่อสั่งสอนคนให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี

bandonradio

27. ผญาอีสานได้อิทธิจากหลักคำสอนในพุทธศาสนาดังนี้

สรุปอิทธิพลของหลักคำสอนมีต่อคำสอนอีสาน
๕.๑.๑ หลักบาปกรรม
    พระพุทธศานามีจุดมุ่งหมายสั่งสอนให้คนกระทำความดีเว้นการกระทำความชั่วและชำละจิตใจให้สะอาดผ่องใส่  ผู้ใดประกอบแต่ความดี  กรรมดีย่อมตอบสนอง  และในทางตรงกันข้ามถ้าหากว่าบุคคลใดกระทำแต่กรรมชั่ว  กรรมชั่วย่อมตอบสนองเช่นเดียวกัน  ผู้ใดกระทำกรรมอย่างใดไว้ผลกรรมย่อมส่องผลให้ได้รับความทุกข์  กรรมเป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนการของวัฏฏะ  คือ  กิเลส  กรรม  วิบาก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมที่มีผลเริ่มจากมีกิเลสที่เป็นต้นเหตุให้สร้างกรรม  จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับผลของกรรม  ดังพระพุทธภาษิตว่า  “บุคคลหว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้รับผลเช่นนั้น  ผู้ทำกรรมดี  ย่อมได้รับผลดี  ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”๑  ไม่มีใครหลีกหนีผลกรรมนั้นพ้นไปได้  หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไปสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของสุภาษิตอีสาน  เพื่อมุ่งสอนให้คนเลิกกระทำกรรมชั่ว  เพราะความชั่วนั้น  “บุคคลทำแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง    เป็นผู้มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา  ร้องให้  เสวยผลของกรรมอันใดอยู่  กรรมอันนั้นอันบุคคลทำแล้วไม่ดี  นั้นคือกรรมชั่ว”๒  คำสอนของชาวอีสานก็มุ่งเน้นให้คนได้ระมัดระวังในการกระทำกรรมเช่นเดียวกัน  เพราะถ้าบาปกรรมมาถึงแล้วย่อมไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางไม่ให้กรรมนั้นส่งผลได้  ดังสุภาษิตว่า
    บ่มีใผหนีได้เวรังหากเทียมอยู่    เวรมาฮอดแล้วซิไปเว้นได้ทีใด
บ่มีใผเถียงใด้เวรังหากเป็นใหญ่    เวรตายวายเกิดขึ้นหนี้เว้นหลีกบ่เป็น๓

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรมว่า  “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง  เป็นทายาทแห่งกรรมขนตนเอง  มีกรรมเป็นแดนเกิด  มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์  มีกรรมเป็นที่พึ่ง  กรรมใดก็ตามที่ทำลงไปดีหรือชั่ว  เขาย่อมจะเป็นทายาทแห่งกรรมนั้น๔  อิทธิพลของพระพุทธศาสนสุภาษิตเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในหลักคำสอนอีสานเช่นกันคือสุภาษิตคำสอนอีสานนั้นสอนให้รู้ว่าบุญหรือบาปกรรมนั้นส่งผลทุกย้างก้าวเปรียบเสมือนเงาที่ติดตามตัวของบุคคลไปทุกย้างก้าวจะนั่งหรือนอนกรรมนั้นย่อมติดตามให้ผลเสมอ    ดังคำสอนว่า
    บุญบาปนี้เป็นคู่คือเงาฮั่นแล้ว        เงาหากไปนำเฮาคู่วันบ่อมีเว้น
    คันว่าเฮาพาเล่นพามันเต้นแหล่น        พามันแอะแอ่นฟ้อนเงาซ้ำกะแอ่นนำ
    คันเฮานั่งหย่องย่อเงานั้นก็นั่งลงนำ    ยามเฮาเอนหลังนอนกะอ่อนลงนอนนำ
    คันเฮาโตนลงห้วยภูซันหลายหลั่น    หรือว่าขึ้นต้นไม้ผาล้านดั่นเขา
    เงากะติดตามเกี้ยวแกะเกี่ยวพันธะนัง    บ่อห่อนมียามเหินห่างไกลกันได้
    อันนี้ฉันใดแท้ทั้งสองบุญบาป        มันหากติดตามก้นนำผู้ทำกรรมนั้น๕
สุภาษิตอีสานหลายๆเรื่องที่แสดงถึงสาระของหลักคำสอนแทรกอยู่ในบทประพันธ์เพราะกวีผู้แต่งสุภาษิตอีสานได้ถ่ายทอดเอาสภาพแวดล้อมในสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่  รวมทั้งความเชื่อเรื่องกรรมตลอดถึงคติธรรมที่ยอมรับปฏิบัติกันในสังคม  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชนชาวไทยอีสานทั่วไป  ด้วยเหตุนี้เองสุภาษิตอีสานจึงมีลักษณะของคำสอนที่มีการแฝงเอาธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสุภาษิตอีสาน “ ซาติที่สงสารซ้งกงเกวียนกลมฮอบ  บาดเถื่อเวรมาฮอดเจ้าสิวอนไหว้ใส่ผู้ใด”(26/ภาษิต) เป็นคำสอนที่มุ่งสอนให้เข้าใจในเรื่องของกรรมนั้นส่องผลในลักษณะเป็นวัฏฏะ  คือสามารถส่งผลไปสู่อนาคตได้ด้วยดังมีพระพุทธภาษิตว่า   
    “ ธัญชาติ  ทรัพย์สิน  เงินทอง หรือสิ่งของที่ห่วงแหนอย่างใดอย่าง
    หนึ่งที่มีอยู่  ทาสกรรมกร  คนงาน  คนอาศัย  พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้ง
    สิ้นจะต้องถูกทิ้งไว้ทั้งหมด… แต่บุคคลทำกรรมใด  ด้วยกาย  ด้วย
วาจา  หรือด้วยใจ  กรรมนั้นแหละเป็นของเข้า  และเขาย่อมพาเอา
กรรมนั้นไป  อนึ่ง  กรรมนั้นย่อมติดตามเขาไปเหมือนเงาติดตามตน
ฉะนั้น… ฉะนั้น  บุคคลควรทำความดี  สั่งสมสิ่งที่จะเป็นประโยชน์
ภายหน้าความดีทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ในปรโลก สํ.ส. 15/392/134“
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรมซึ่งแนวคำสอนเรื่องกรรมนี้เป็นลักษณะของกรรมชรูป  คือรูปที่เกิดมาจากกรรมส่งผลให้จะเป็นคนหรือสัตว์  ได้ร่างกายมาเป็นตัวตนเพราะกรรมเป็นผู้ตกแต่งให้  ซึ่งมนุษย์แต่งเอาเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็ตามแต่ก็ไม่สามารถจัดการให้สวยงามไม่ได้  เปรียบเหมือนพ่อแม่เป็นเช่นเรือน  ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน  สวยแล้วแต่เรือนเกิดไม่เป็นปัญหา  ดังนั้นพระพุทธศาสนจึงสอนให้ทำกรรมดี  เพื่อจะได้มีความสุข  และเมื่อตายไปแล้วหากมาเกิดอีกก็จะได้เกิดมาเป็นคนดี   ซึ่งบุญกรรมเป็นผู้ส่งผลข้ามภพข้ามชาติให้บุคคลทั้งหลายในโลกนี้เป็นไปตามอำนาจของกรรม  และกระบวนการให้ผลของกรรมที่ส่งผลต่อชีวิตมนุษย์  เพราะกรรมเป็นผู้จำแนกชีวิตมนุษย์นั้นให้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันตามอำนาจของกรรมเป็นผู้ส่งผลมาในชาติปัจจุบัน ดังพระพุทธภาษิต   “ถ้าท่านกลัวทุกข์  ก็อย่าทำกรรมชั่ว  ทั้งในที่ลับที่แจ้ง  ถ้าท่านจักทำหรือทำอยู่ซึ่งกรรมชั่ว  ถึงแม้จะเหาะหนีไป  ก็ย่อมไม่พ้นจากความทุกข์ได้เลย )ขุ อุ 25/115/150  และที่ปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร  มีพระพุทธดำรัสว่า 
“มนุษย์  ชายหรือหญิงที่มีอายุสั้น  เพราะกรรม  ที่มีอายุยืนยาวก็เพราะกรรม
ชายหรือหญิงที่มีผิวพรรณงดงามหรือขี้เหล่ก็เพราะกรรม  …ชายหรือหญิง
ที่มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจก็เพราะกรรม  ..ชายหรือหญิงที่มีโภคะทรัพย์
สมบัติมากหรือโภคะน้อยก็เพราะกรรม  ..ชายหรือหญิงที่เกิดในตระ
กูลสูงหรือต่ำก็เพราะกรรมส่งผลมาให้  .. ชายหรือหญิงที่มีปัญญามากหรือ
มีปัญญาน้อยก็เพราะกรรม  (ม.อุ 14/579-597
คำสอนอีสานนั้นเน้นถึงหลักการที่มองเห็นเพียงความดีหรือความงามในปัจจุบันเป็นหลักเกณฑ์  ดังคำสุภาษิตที่ว่า  “ เป็นคนนี้ให้ทำเนียมคือนกเจ่า  บาดว่าบินขึ้นฟ้า  ขาวแจ้งดั่งนกยาง”(บุญเกิด/28) หมายความว่าเป็นคนให้รู้จักดำรงตนในทางที่สะอาดบริสุทธิ์  รู้จักดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย  ไม่ว่าเป็นหญิงหรือชาย  ตามทัศนะของคำสอนอีสานนั้นมุ่งสอนให้รู้ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว  บุญบาปนั้นจะติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือความชั่ว  ซึ่งจะอำนวยความดีให้ในลักษณะของความเจริญก้าวหน้าในชีวิตปัจจุบันด้วยอำนาจของบุญเก่าดังสุภาษิตว่า
“บุญมีใดเป็นนายใช้เพิ่น    บุญบ่ให้เขาสิใช้ตั้งแต่เฮา
บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่        บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม
บุญมีได้เป็นนายให้เขาเพิ่ง    คันว่าบุญบ่พร้อมแสนซิดิ้นกะเปล่าดาย
คอนแต่บุญมาค้ำบ่ำทำการมันบ่แม่น    คอยแต่บุญส่งให้มันสิใดฮอมใด
คือดังเฮากินมีเข้าบ่เอากินมันบ่อิ่ม    มีลาบคับบ่เอาเข้าคุ้ยทางท้องบ่ห่อนเต็ม(ย่า)
กรรมตามความเข้าใจของชาวอีสานอีกอย่างหนึ่ง  คือเคราะห์กรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนาจะพบซึ่งส่วนมากจะเป็นคำสอนให้รู้จักว่าถ้าชายหรือหญิงได้รับสิ่งที่ตนเองไม่อยากได้เท่าใดหนักมักจะโยนความผิดให้แก่กรรมเก่าของตัวเองสร้างมาไม่ดี  ดังสุภาษิตว่า
ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า    ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง
กรรมแบ่งบั้นปั้นป่อนมาพบ        บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ( ดร.ปรีชา
กรรมอีกนัยหนึ่งซึ่งหมายถึงการหมดบุญที่ชาวบ้านเรียกว่าสิ้นบุญกรรมหมายถึงความตายหรือถึงแก่กรรม  เพราะว่าไม่มีใครต่อต้านกับอำนาจของพระยามัจจุราชได้ดังสุภาษิตว่า
“ ซื่อว่ากรรมมาเถิงแล้วจำใจจำจาก    บ่มีไผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา
ซื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาทย่าง    ไผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว
อันว่าโลกีย์นี้บ่มีแนวตั้งเทียง        มีแต่ตายแต่ม้างทะลายล้มเกลื่อนหาย
อันว่าความยม้างไกลกันเจียระจาก    คันบ่ม้มโอฆะกว้างซิเที่ยวพ้ออยู่เลิง(ย่าปรีชา)
ทุกข์
การขยายกฏของกรรมได้แบ่งกุศลและอกุศลไว้อย่างชัดเจนว่ามนุษย์ที่ทำกุศลไว้เกิดมาก็มีบุญอุปถัมภ์  ส่วนผู้ที่ทำอกุศลไว้มักจะพบแต่ความยากไร้ลำบาก  ชีวิตมีแต่ความทุกข์เรื่องอย่างนี้พระพุทธศาสนามองว่ามนุษย์ทุกข์ชนชาติย่อมมีธรรมชาติอย่างหนึ่งคือความทุกข์อันมีประจำร่างกาย เรียกว่าทุกข์อริยสัจ  ได้แก่ความเกิด  ความแก่  ความตาย  ซึ่งมีประจำสังขารและปกิณกะทุกข์คือความทุกข์ที่จรมาในบ้างครั้งเท่านั้นคือ ความโศก  ความระทมทุกข์  ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ  ความคับแค้นใจ  ซึ่งมีแก่ภาวะจิตใจตลอดถึงร่างกายเป็นบางครั้งบางคราว  ความไม่สมหวังในสิ่งอันเป็นที่รัก  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รับที่ชอบไปก็เป็นทุกข์  โดยสรุปแล้วว่าขันธ์  ๕ คือความทุกข์  ดังพระพุทธภาษิตว่า 
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ทุกข์อริยสัจนี้แล  คือความเกิดก็เป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์  ความตายก็เป็นทุกข์  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์
โทมนัส  อุปายาส  เป็นทุกข์  ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่
รักก็เป็นทุกข์  ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก  ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้  แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์  กล่าวโดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕  เป็นทุกข์ ๖ 
นักปราชญ์อีสานมองชีวิตเฉพาะความทุกข์ที่เห็นกันอย่างใกล้ตัว กล่าวคือความทุกข์อันเกิดจากลูกเมียตายจากไปเป็นความทุกข์อันเกิดจากความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก  ความทุกข์ที่เกิดจากการต้องเดินทางไกลไปต่างถิ่น  หรือความทุกข์ที่เกิดจากการอย่าร้างกันของสามีภรรยา  ความทุกข์เกิดจากต้องไปค้าขายหมู  ความทุกข์ที่เกิดจากพ่อแม่ตายจากไปสุดที่จะคิดถึง คือทำสิ่งใดที่เกิดความลำบากขึ้นมานั้น  กลับมองเห็นว่าเป็นความทุกข์ของชีวิตซึ่งมองไม่รู้ถึงนั้นคือความทุกข์ชนิดต่างๆแต่พระพุทธศาสนาสอนว่าอวิชชาอันเป็นสาเหตุให้ชีวิตเป็นทุกข์  ความทุกข์ในแนวทางคำสอนอีสานนั้นนักปราชญ์ท่านกล่าวไว้ว่ามี  ๑๒  อย่างดังนี้คือ
“  ทุกข์หนึ่งลูกตายเสีย            ทุกข์สองเมียตายจาก
ทุกข์สามพรากพี่น้องหนีไปไกล        ทุกข์สี่ลงไปไทยค้าต่าง
ทุกข์ห้าผัวเมียฮ้างป๋ากัน            ทุกข์หกไปนอนวันพรากพี่น้อง
ทุกข์เจ็ดป้องหมูลงไปขาย        ทุกข์แปดพ่อแม่ตายแสนคึดฮอด
ทุกข์เก้าบ่มีเมียนอนกอด        ทุกข์สิบเทียวทางหลงยามค่ำ
ทุกข์สิบเอ็ดฝนตกฮ่ำกับฟ้าฮ้อง        ทุกข์สิบสองเจ็บท้องปวดบ่อมียา12
ความทุกข์อีกนัยหนึ่งที่คำสอนของชนชาวอีสานทราบชัดว่า  ชีวิตไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาย  ดังนั้นมันต้องมีความทุกข์อยากลำบากเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารร่างกายที่จะต้องพบกับความลำบากทุกอย่าง  ซึ่งคำสอนในลักษณะนี้นักการศาสนาอีสานมองว่าเป็นความทุกข์ของชีวิตอีกแบบหนึ่ง  ดังนี้คือ
“ เที่ยวทางไกลอยากน้ำนี่กะยาก        ปวดม้ามไกลหมอนี่กะยาก
เฮ็ดนาทามน้ำท่วมข้าวนี่กะยาก        อยากเหล้าบ่อได้กินนี้กะยาก
ถากไม้สนขวานบ่อเข้านี่กะยาก        บ่อมีข้าวกินลูกหลานหลายนี่กะยาก
ตายบ่อมีพี่น้องหามไปถิ่มนี่กะยาก    ตอกหลิ่มใส่ลายขัดนี่กะยาก
ไปวัดเจ้าหัวบ่ออยู่นี่กะยาก        ไต่ขัวไม้ลำเดียวนี่กะยาก
เที่ยวทางไกลบ่อมีเพื่อนนี่กะยาก    ป้องไก่เถื่อนในดงนี่กะยาก( ภาษิตอีสาน 11
    หลักไตรลักษณ์
    คำสุภาษิตอีสานได้ช่วยย้ำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงหลักธรรมชาติของชีวิตตามแนวทางคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  ให้ทราบถึงหลักความไม่เที่ยงของสังขารตามที่พระพุทธเจ้าทรงชี้บอกว่าขันธ์  ๕  เป็นทุกข์และก็ตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์  เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา(  อง. ติก. 20/137/278)

bandonradio

26,เพลงลูกทุ่งกับกลุ่มสังฆสถาน

ประเภทสังฆสถาน
    สังฆสถาน  คือ  สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานที่สำหรับอยู่ของพระภิกษุและเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์โดยตรง   จึงเป็นอาคารสถานที่แยกต่างหากออกไปจากสิ่งก่อสร้างประเภทพุทธสถาน  สิ่งก่อสร้างประเภทนี้ เช่น  กุฎิ  หอฉัน  หอกลอง  เป็นต้น(วันดี)
    แต่เมื่อเรียกโดยภาพรวมแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่า  “วัด”  วัดเป็นสถานที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมแก่สังคมอย่างมากเพราะเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมประเพณีและศูนย์กลางอื่น ๆ
    วัดเป็นสถานบันที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา  เพราะการดำเนินชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันอยู่วัดมาตลอดตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย  แม้ในทางวัฒนธรรมประเพณีวัดก็มีส่วนสำคัญ   ด้วยเหตุที่วัดเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญของโลกและถือว่าเป็นผู้สืบทอดศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตของชาวพุทธ  ในขณะเดียวกับพระสงฆ์ก็เป็นที่รวมศรัทธาของชุมชนด้วย
    ดังนั้น   วัดจึงกลายเป็นศาสนสถานที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนกิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้น  เช่น  พุทธศาสนิกชนต้องไปปฏิบัติกิจที่วัด  หรือวัดก็เอื้อโอกาสแก่สังคมในการประกอบกิจที่เป็นประโยชน์ซึ่งนับว่าวัดเป็นสถานบันที่เป็นประโยชน์แก่สังคมเป็นอย่างมาก  แม้ในปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนไป  จึงทำให้บทบาทของทางวัดเปลี่ยนไปด้วย  อย่างไรก็ตามวัดก็ยังเป็นที่รวมศรัทธาของท่านพุทธศาสนิกชนในชนบทอยู่เพราะเป็นที่พึ่งทางใจของชาวพุทธ
    บทเพลงลูกทุ่งมีกล่าวถึงวัดมากมาย  จากการวิจัยพบว่า  วัดเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับเพลงลูกทุ่งทั้งเนื้อหาสาระ  ทั้งตัวผู้ร้อง   เพราะในการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่ง  ส่วนมากก็อาศัยสถานที่วัดทำการแสดง  ไม่ว่าจะเป็นงานประจำปี  งานปิดทอง,  งานฝังลูกลิมิต,  งานบุญกุศลทั่วไป  เป็นต้น ฉะนั้นเนื้อหาสาระจึงเกี่ยวพันอยู่กับศาสนสถาน  รวมถึงการแสดงออกของครูเพลงลูกทุ่งก็แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างชัดเจน
    ในสมัยพุทธกาลระยะเริ่มแรกนั้น  พระสงฆ์ยังไม่มีที่อยู่อาศัยประจำ  ได้จาริกไปเพื่อเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาให้กว้างขวางออกไปเพื่อเป็นการยังประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มากตามที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้  ดังปรากฎในพระไตรปิฎกว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย  เธอทั้งหลายจงจาริกไป  เพื่อประโยชน์และความสุขของชนหมู่มาก  เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย”(วินย.)
    จะเห็นได้ว่า  พระพุทธศาสนาเน้นหนักในการที่จะให้พระภิกษุออกประกาศสัจธรรมเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก   แต่การสัญจรหรือจาริกของพระภิกษุนั้นจำเป็นจะต้องมีที่อยู่อาศัยเพื่อจะได้จำพรรษา  เพื่อเป้าหมายคือการอยู่เพื่อปฏิบัติธรรม  เพื่อบรรลุคุณธรรมชั้นสูง  ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับประโยชน์ตามความเหมาะสม  คือนำหลักธรรมที่ตนได้เรียนรู้และปฏิบัติมาเผยแผ่  เพื่อให้หมู่ชนได้นำปรับใช้ตามความต้องการ  ดังนั้นการอยู่อาศัยในวัดของพระสงฆ์จึงเป็นเพียงความหมายรอง  ความหมายหลักของวัดจึงหมายถึงสถานที่ที่พระสงฆ์พักอาศัย  เพื่อจะทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์และเหมาะสม(พระราชวรมุนี) 
    ไอ้หนุ่มบ้านนา  เช้ามาก็ไถนา  อยู่ท้องนาจะขาย
    ข้าวปลา  วิวาห์กับสาวไพร  ไม่ได้ข้าวปลา  ขายนาจะเป็นไร
    มั่นในทรวงใน  เจ้าทรามวัย  ขวัญใจบ้านนา”
        (ไอ้หนุ่มบ้านนา :  ไพโรจน์  แก้วมงคล)
    ในคราวที่มีงานประเพณี  ชาวพุทะจะมารวมตัวกันที่วัด  และรำลึกถึงกันอยู่เสมอ  ดังบทเพลงว่า
    “งานวัดปีกลาย มีแฟนเคียงกายเดินเที่ยว  นิ้วก้อย
    เรียว ๆ  มีเธอคล้องเกี่ยวก้อยเดิน  แต่ปีนี้มันดูเขิน ๆ  ไม่มีคู่
    เดิน  เชิญชมเที่ยวงาน....
    เคยเคล้าคลอกัน  ชิงช้าสวรรค์ก็มี  โถค่ำคืนนี้ไม่มี
    เธอนั่งเคียงกาย  ปิดทองพระดูใจหาย ๆ  ไม่มีเพื่อนชาย
    เหมือนปีกลาย  มาร่วมปิดทอง”
        (คืนนี้เมื่อปีกลาย  :  ขับร้องโดย พุ่มพวง  ดวงจันทร์)
    “...งานวัดเรามีทุกปี  ปิดทองพระร่วมกับพี่
    แล้วปีนี้ต้อง...จาบัลย์  เสียงเพลงเครื่องไฟ  บาดหัวใจ
    เหลือรำพัน  เห็นใครเขาต่างมีสุขกัน  แต่เรานั้นต้องหมองไหม้
    เสียงรถเสียงเรือแล่นผ่านบ้านน้อง  จับตาจ้องมอง
    ว่าพี่ของน้องมาหรือไม่  แต่แล้วใจหายไม่มีพี่ดั่งตั้งใจ
    หลงเมืองหลวงไม่เคยห่วงใย  พี่รู้บ้างไหมน้องคิดถึงพี่...”
    ในบางท้องที่  มีการจัดงานประจำปี  เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบนมัสการองค์พระที่ชาวบ้านนับถือและจัดให้มีงานฉลอง  อย่างเช่นบทเพลงว่า
    “...เทศกาลวันฉลองใหญ่โต  แห่งวัดบางนมโค
    ฉลองใหญ่โตโชว์การแสดง  จะพาโฉมฉายพ่อตาแม่ยาย
    เที่ยวไปทุกแห่ง  แต่พี่ยังหวาดระแวงหนุ่มใกล้จะแย่ง
    แซงรักพี่ไป...”
    (มนต์รักเสนา : ขับร้องโดย  ยอดรัก  สลักใจ)
    ลักษณะของวัดที่ดีและเหมาะสมนั้น  ปรากฎอยู่ในพระราชดำรำของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งทรงหาสถานที่ต่าง ๆ ที่เหมาะสมที่จะให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์นั้น  โดยได้แสดงถึงลักษณะของวัดที่ดี  ดังปรากฎในพระไตรปิฎก  ดังนี้
    “พระผู้พระภาคพึงประทับอยู่  ณ  ที่ไหนหนอ ซึ่งจะ
    เป็นสถานที่ไม่ไกลไม่ใกล้จากบ้านนักสะดวกด้วยการคมนาคม
    ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้  กลางวัน
    ไม่พลุกพล่าน  กลางคืนเงียบสงัดเสียงไม่กึกก้อง  ปราศจาก
    ลมแต่ชนที่เดินเข้าออก  ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้อง
    การที่สงัด  และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย”(วินย.)
    บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงศาสนาสถานที่เกี่ยวกับวัดไว้ก็มี  แต่เป็นรูปแบบของการชักชวนคนให้มาทำบุญสร้างวัด  เพราะถือว่าวัดนั้นคือศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ  ทุกหมู่บ้านจะต้องมีวัดไว้สำหรับชาวพุทธได้มีโอกาสได้ทำบุญ  และเมื่อถึงคราวัดวาอารามทรุดโทรมชาวพุทธที่ช่วยกันทำนุบำรุงดังบทเพลงว่า
    “...มิ่งขวัญอันที่ตรึงจิตใจ  ว่าเป็นหลักชัย
    องปวงประชา  ทุกย่านหมู่บ้านทุกบางเมืองไทย  ต้องมีวัดไว้
    เป็นศรีสง่า  ทุกผู้รูกันว่าวัดดีนักเป็นสัญลักษณ์ของศาสนา
    แต่น้องพี่เอ่ยจงเงยหน้าเบิ่ง  วัดเราเปิดเปิงโย้เย้ไปมา  จะพัง
    มิพังแหล่ข่อยแลแล้วเศร้า  เป็นเพราะพวกเราไม่ช่วยรักษา
    บัดนี้ฤกษ์ดีวัดนี้จะซ่อม  หมู่เฮาจงพร้อมช่วยซ่อม
    วัดวา  ผู้ใดรวยเงินขอเชิญบริจาค  ทำน้อยทำมากบ่ขัดศรัทธา
    หรือจะถวายไม้กระดานหน้าต่างสักบานก็เชิญท่านมา.....”
        (บริจาคเงินซ่อมวัด  :   ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้สนใจบวชในพระพุทธศาสนาและศึกษาพระธรรมวินัยนั้นมากขึ้น  เมื่อบวชแล้วผู้ที่มีความเลื่อมใสก็จะบวชเรียนต่อไป  ส่วนผู้ที่ไม่ประสงค์จะบวชอีกต่อไป  เมื่อลาสิกขาคือสึกออกมาที่สามารถเข้ารับราชการได้  จะเห็นได้จากในตอนปลายกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงกวดขันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา  บุตรหลานข้าราชการคนใดที่จะถวายตัวทำราชการ  ถ้ายังไม่ได้อุปสมบทก็ไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็นราชการ
    ดังนั้นเหตุผลที่สำคัญข้อหนึ่งในการอุปสมบทก็คือ”บวชเพื่อเรียน”  หรือพูดกันติดปากว่า  “บวชเรียน”  นั่นเอง(วิลาสวงศ์)   ฉะนั้น  จะเห็นได้ว่าวัดนั้นก็เป็นที่ศึกษาเหมือนกัน  ตามปกติพุทธศาสนิกชนชาวไทยแต่โบราณได้ให้ความสำคัญแก่วัดและพระสงฆ์ว่า  เป็นแหล่งการศึกษาที่ดี  ดังจะเห็นได้ว่าสมัยก่อน  พระสงฆ์เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในหลาย ๆ ด้าน  ทั้งทางโลกและทางธรรม (พระมหาสำเนียง)
    กุลบุตรไทยส่วนมากที่จะบวชมักจะเป็นชายโสด   และอยู่ในวัยหนุ่ม   ก่อนบวชก็มักจะมีคู่รักที่ชาวชนบทรักเรียกว่าเป็นแฟนกัน   หมายถึงยังไม่ได้แต่งงานกัน  พอจะเข้าบวชในพระพุทธศาสนาก็ต้องมีการร่ำลา  เพื่อที่จะเช้าบวชเรียนในพุทธศาสนา  สิ่งหนึ่งที่หนุ่มจะย้ำอยู่เสมอก็คือการบวชเรียน  เพื่อฝึกตนให้เป็นคนดี  พอสึกออกมาจะได้เป็นคนดี  เพื่อชีวิตคู่จึงต้องขอร้องให้แฟนสาวรอคอย  ดังบทเพลงว่า
    “ขอลาเจ้าไปบวชเรียน  น้องจงช่วยอุ้มเทียนแห่ไปวัดที
    น้องพี่โปรดจงเห็นใจ  ฝันใฝ่อยู่ไม่เว้นวัน  รักกันมาแรมปี
    อย่างนี้มีใจตรงกัน   นึกถึงวันร่วมทางสร้างกุศล ขอหน้ามน
    เมตตามาช่วยงาน  มองตั้งนานไม่เห็นมีน้องเอยน้องพี่ไม่มา
    ขอลาเจ้าไปบวชเรียน  หรือใจวนเวียนเจ้าถึงลืมสัญญา
    เห็นหน้าเจ้าสักนิดยังดี  น้องพี่ถ้าจะหลงลืมกัน  บวชแทน
    พระคุณมารดาไม่ช้ารอคืนรอวันเห็นใจกันฝากคำจำได้ไหม
    ขอลาไปสร้างบุญเกื้อหนุนที่เรานั้นมีสัมพันธ์กันมา  หวังใจ
    ไว้ว่าคงคอย....”
    “...หอมหนึ่งครั้งเพื่อตั้งใจบวชไปให้กับแม่ขอหอมเบา ๆ
    เอิง  เอิ้ง  เอย  แก้มศรีแพรขอจูบฝากไว้ด้วยใจแน่  พี่รักแท้
    มั่นคง  บวชเป็นสงฆ์จงรอคอย   บวชเรียนสึกแล้ว  จะมาวิวาห์
    กับน้องคนดี  ไม่ถึงปีโปรดคอยหน่อย...”
        (จูบก่อนบวช : ขับร้องโดย  คัมภีร์  แสงทอง)
    สมัยก่อนนั้น  ไม่มีโรงพยาบาล  เมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ก็จะพามาให้พระรักษาพยาบาล  พระก็จะรักษาพยาบาลไปตามภูมิความรู้ของตนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยาสมุนไพร   แม้บางครั้งคนที่มาหาจะมีความทุกข์ใจ   แต่พอจะปรึกษาธรรมะหรือพูดคุยกับพระในวัดแล้วก็สามารถบรรเทาลงได้   ฉะนั้น  เปรียบเหมือนวัดเป็นสถานพยาบาล ดังเพลงลูกทุ่งว่า
    “..วัดนี้หรือคือถิ่นทรัพย์  สร้างคนดิบเป็นคนดี  คนเกิดมา
    โรคามีต้องหาหมอเพื่อขอยา  เปรียบว่าวัดเป็นสถานพยาบาล
    สุขศาลาคนทุกข์ใจให้เข้ามา   เอาศาสนารักษาใจ....”
        (เชิญทำบุญสร้างวัด : ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    เมืองไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย  พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก  ความจริงดังกล่าวนี้ย่อมปรากฎทั้งในประวัติศาสตร์พระราชพงศาวดาร  ทั้งจากหลักฐานทางโบราณคดี  โดยมิต้องสงสัย  พระราชภารกิจส่วนใหญ่ของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล   ต่างก็ทรงมุ่งมั่นต่อความ  ดำรงสถิตมั่นแห่งพระบวรพุทธศาสนา  สมดังพระราชอธิษฐานสัจจปฏิญาณในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า  “ตั้งใจจะอุปถัมภก  ยกยกพระพุทธศาสนา”  ไปพร้อม ๆ  กับพระราชกิจที่จะ “ป้องกันขอบขัณฑสีมารักษาประชาชนและมนตรี”  ซึ่งความจริงข้อนี้  แม้ชาวตะวันตกก็ยอมรับ  ให้สมญานามประเทศไทยว่า  “ดินแดนแห่งกาสาวพัสตร์(Land  of  the  Yellow  Robes)”(ประสิทธิ์)
    ความภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย  มีรสนิยมแบบไทย  ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้  เสื้อผ้าอาภรณ์รวมไปถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่พ่อแม่เชื่อถือมาก็ปฏิบัติตาม  เรียกว่าเป็นคนชาตินิยม  ดังบทเพลงว่า
    “..น้องเกิดเมืองไทย  น้องก็รักเมืองไทย  ของกินของใช้
    ก็ชอบไทยไทยทั้งนั้น  เสื้อผ้าสวมใส่ก็ชอบไทย ๆ  เหมือนกัน
    ของหวานของมันฉันก็ชอบไทย ๆ
    น้องเกิดเมืองไทย  พ่อแม่ก็ไทยเช่นกัน  จะให้น้องนั้น
    นิยมชาติอื่นยังไง  จะชั่วจะดีน้องนี้จะรักเมืองไทย  ทำบุญวัด
    ไทยเมืองไทยจะได้ไม่เงียบเงา...”
        (ฉันรักเมืองไทย  :  ขับร้องโดย  พิมพา  พรศิริ)
    บทเพลงลูกทุ่งมีการกล่าวถึงคนที่ไม่รักชาติ  ศาสนาไว้เหมือนกันในทำนองตือนสติแก่คนที่รับเอาวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาใช้  จนลืมวัฒนธรรมเดิมของตนที่มีดีอยู่แล้ว  เช่น  วัดวาอาราม  เป็นต้น  ดังบทเพลงว่า
    “..สเน็ก ๆ  ฟิช ๆ งู ๆ ปลา ๆ  ฟังเพลงไทยแล้วส่ายหน้า
    ฉันฟังเพลงไทย  ทีเพลงฝรั่งฟังได้เป็นวรรคเป็นเวร
    นิยมว่าดีว่าเด่น  อวดเป็นลืมของไทย
    สังคมชนบทนั้น เป็นสังคมที่ไม่ค่อยมีการแบ่งชั้นวรรณะมากเท่ากับสังคมในเมือง  การสนุกสนานรื่นเริงแต่ละครั้งก็มักจะใช้สถานที่วัดเป็นศูนย์รวม  เพราะทุกคนคิดว่า  วัดนั้นคือวัดของเราทุกคน  ทำให้บ้านกับวัดมีความแนบแน่นกันมากอย่างยาวนาน  จากภาพพจน์นี้สะท้อนให้เห็นว่าวัดนอกจากจะเป็นที่ฟังธรรมแล้ว  ก็ยังใช้เป็นที่แสดงพลังสามัคคีด้วย   ดังบทเพลงว่า
    วัดเป็นที่อยู่ของพรสงฆ์ก็จริง  แต่วัดนั้นไม่ได้จำกัดว่าผู้ชายหรือผู้หญิงจะเข้าก็ได้  ในคราวคนมีทุกข์วัดเป็นสถานที่จะรองรับหรือให้คำปรึกษาได้  โดยเฉพาะพระสงฆ์จะต้องเป็นที่พึ่งทางใจแก่พุทธศาสนิกชนได้ในครั้งพุทธกาล   สตรีหลายคนที่พบปัญหาชีวิต  ต่อมาพอได้พบธรรมของพุทธองค์เกิดความเลื่อมใสแล้วบวชในพระพุทธศาสนาก็หลายรูป  จะเห็นได้ว่าการที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาติให้ผู้หญิงบวชนั้นก็เป็นการเปิดทางให้กับผู้หญิงผู้ที่ต้องการแสวงหาความพ้นทุกข์   ดังมีผู้หญิงบางพวกที่มาบวชเพราะต้องการหนีความทุกข์ยากตรากตรำในกิจการงานภายในบ้าน   ดังกรณีนางกีสาโคตมี(ขุ.เถรี)  เป็นต้น
    ทุกครั้งที่มีทุกข์  คนแรกของชาวบ้านที่คิดถึงก็คือพระสงฆ์ที่อยู่ในวัด  เพราะสังคมชนบทนั้นมคความเคารถต่อพระสงฆ์ในวัดมาก  เมื่อมีเรื่องเดือดร้อนหัวใจ   ก็จะรีบไปปรึกษาพระสงฆ์ในวัดทันที   บางคนถึงกับขนาดเข้าวัดตักบาตรทำบุญทุกวัน   ที่สุดถึงกับบวชมอบกายถวายอกในพระพุทธศาสนาเลยก็มี  ดังบทเพลงว่า
    เสนาสนะต่าง ๆ  ที่ก่อสร้างภายในเขตวัด  เช่น  กุฎิ  วิหาร โบสถ์ ฯลฯ  ล้วนเป็นสิ่งที่ได้มากผู้ที่มีใจศรัทธาโดยการบริจาคหรือการเรี่ยไรเพื่อสร้างให้เป็นสมบัติพระศาสนาทั้งสิ้น   แสดงว่าวัดมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของใครโดยเฉพาะ   แม้แต่เจ้าของผู้สร้างถวายก็ไม่ควรยึดถือในกรรมสิทธิ์   เพราะการถวายให้เป็นของสงฆ์ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นของกลางเนื่องจากคำว่า  “สงฆ์นั้นหมายถึงหมู่หรือชุมชน(พระราชวรมุนี)  วัดจึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน  ที่จะต้องรักษาร่วมกัน  เพราะวัดนั้นเป็นสมบัติส่วนรวม   แม้แต่พระสงฆ์ก็หาใช่เป็นเจ้าของไม่
    สังคมไทยชนบทนั้นเชื่อว่า “วัดช่วยบ้าน  บ้านช่วยวัด”  จึงจะสัมพันธ์กันและทำให้คนดีได้  เพราะต่างช่วยกัน  ในวัดหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยศาลา  กุฎิ  โบสถ์  วิหาร  กำแพงแก้ว  ห้องน้ำ  และสิ่งสำคัญก็คือต้องมีพระอธิการ  หรือเจ้าอาวาสคอยปลูกศรัทธาญาติโยม  พร้อมทั้งคอยอบรมพระเณรภายในวัด  ข้อสำคัญเจ้าอาวาสจะต้องมีคุณธรรม   ๕  ประการ  คือ
ไม่ลำเอียงเพราะรัก
ไม่ลำเอียงเพราะโกรธ
ไม่ลำเอียงเพราหลง
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
ไม่สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว(วิ.นย)
คนไทยมักจะสร้างความคิดเสมอ ๆ  ว่าบ้านจะดี  เป็นเพราะมีวัดคอยอบรมสั่งสอน  ส่วนวัดนั้นเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนาสนิกชนต้องร่วมใจกันทำนุบำรุง  เพราะถือว่าเป็นสมบัติของส่วนรวม  แม้กระทั่งศาสนสมบัติทุกอย่างภายในวัด  และพร้อมกันนี้ก็มักจะฝากความหวังไว้กับเจ้าอาวาสด้วยอันหมายถึงถ้าเจ้าอาวาสมีความสามารถปฏิบัติไม่ขัดครรลอง  ไม่เพียงแต่ลูกวัดเชื่อถือ   ญาติโยมก็คงจะศรัทธาขึ้นเรื่อย ๆ ดังบทเพลงว่า
    จากการศึกษาบทเพลงลูกทุ่งนั้น  มีการกล่าวถึงสถานอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ  จะสังเกตเห็นได้จากเนื้อหาสาระของบทเพลงเหล่านั้นแม้ว่าจะกล่าวถึงเรื่องของความรักของหนุ่มสาวก็จริงแต่ผลสุดท้ายก็นำเรื่องของศาสนวัตถุเข้ามาอ้างอิง  นั่นแสดงให้เห็นว่าแรงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่ลึกอยู่ในจิตใจของครูเพลงอยู่แล้ว  จึงได้กลั่นกรองออกมาเป็นร้อยกลองที่ผสมผสานสอดคล้องกับถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาอย่างจงใจ
    อีกประการหนึ่ง  คนไทยในชนบทนั้นมักใช้เป็นวัดเป็นศูนย์กลางของการพบกัน  หรือจัดงานทั่วไป   เพราะสะดวกทั้งสถานที่เป็นประหยัดค่าใช้จ่ายไปมาก   และเป็นการความรู้ทางศาสนาและบันเทิงควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการทำบุญที่ควบคู่ไปกับความสนุกสนานซึ่งสามารถฝึกคนให้เป็นคนใจบุญคุณค่าของความสามัคคี  จิตใจร่าเริง  ไม่คับแคบเพราะการจัดงานต่าง ๆ ที่วัดทำให้ชาวบ้านได้พบปะชุมนุมกันที่วัด  ก่อให้เกิดความสามัคคีและเกิดความรู้สึกเป็นชุมชนเดียวกัน  และการจัดงานขึ้นอยู่ที่วัดย่อไม่ทำอะไรที่เกินขอบเขตของความดีงาม  เนื่องจากถือกันว่าเป็นวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงเกิดความเกรงกลัวต่อบาปกรรม
    ฉะนั้น  คำสอนของกวีอีสานหลาย ๆ  บทเนื้อหาสาระจึงมักกล่าวศาสนวัตถุไว้อย่างชัดเจนและคงเป็นบทกวีอมตะที่กินใจผู้ฟังไปยาวนานตราบที่พระพุทธศาสนายังเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแห่งนี้ต่อไป

bandonradio

25. เพลงลูกทุ่งกับปูชนียวัตถุสถาน

ผญาอีสานกับปูชนียวัตถุสถาน
    ในสมัยพุทธกาลนั้นปรากฎว่า  มีแต่บุคคลที่นับถือพระรัตนตรัยคือ  นับถือแต่พระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์สาวกทั้งหลายเป็นหลักพระพุทธศาสนา  หามีวัตถุเป็นเจดีย์  คือสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการเคารพบูชาในพระพุทธศาสนาไม่  บรรดาเจดีย์ในพระพุทธศาสนา  นอกจากพระไตรสรณคมน์แล้ว   เป็นของเกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วทั้งนั้น(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ)  และในขณะเดียวกันพระพุทธองค์ก็ได้มีพุทธฎีกาแก่เหล่าพุทธสาวกทั้งหลายให้ยึดถือพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์และเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา  ดังปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ว่า  “ดูกรอานนท์ธรรมและวินัยที่เราได้แสดงแล้ว  บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลายนั้นคือศาสนดาของเธอเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว(ที.ม.)
    อย่างไรก็ตาม    จากการศึกษาก็คงพอจะทราบเค้าแห่งการเกิดขึ้นของปูชนียวัตถุซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา  ในประเด็นนี้พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาติไว้เหมือนกัน  ในตอนที่พระพุทธศาสนาก็ทรงอนุญาตไว้เหมือนกัน  ในตอนที่พระพุทธองค์ทรงประชวรใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน  พระอานนท์เถระทูลปรารถว่า  แต่ก่อนมาเหล่าภิกษุบริษัทได้เคยใกล้ชิดและเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เนื่องนิตย์  เมื่อพระองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว  ไม่สามารถเห็นพระองค์อีก  คงจะพากันว้าเหว่โศกาอาดูร  พระพุทธเจ้าจึงตรัสอนุญาตที่สังเวชนียสถานไว้  ๔  แห่งสำหรับพุทธสาวกที่ใคร่จะเห็นพระองค์   ก็ให้ไปปลงธรรมสังเวช ณ  สถานที่ดังกล่าว  คือ  สถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพานสถานที่ทั้ง ๔  เหล่านี้  จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์
    เป็นที่น่าสังเกตว่า  ในช่วงระยะเวลาหลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วประมาณ  ๓๐๐  ปีแรก  หรือตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  ๒-๓ ก็ยัง  ไม่พบหลักฐานทางด้านศิลปวัตถุที่ถือว่า  เป็นรูปเคารถหรือรูปสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า  สันนิษฐานว่า  พุทธศานิกชนในสมัยนั้น  เมื่อระลึกถึงพระศาสดาใคร่เห็นพระพุทธองค์  ต่างก็พากันไปทำพุทธบูชาปลงธรรมสังเวช ณ  สังเวชียสถานทั้ง  ๔  แห่ง  เพื่อให้เกิดพุทธานุสติและยึดเอาวัตถุสิ่งของเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  ที่ปรากฎอยู่  ณ  สถานที่นั้นเป็นสัญลักษณ์ด้วย  เช่น  ไม้สาละที่ประสูติ  ไม้โพธิบัลลังก์ที่ตรัสรู้  ไม้รังที่ปรินิพพาน  เป็นต้น(พัชรินทร์)
    พระพุทธศาสนาเมื่อแรกเข้ามาสู่ประเทศไทยนั้น  รูปเคารพต่าง ๆ ยังไม่มี  ครั้นเมื่อจำนวนพุทธศาสนิกชนมีมากขึ้น  จึงได้มีการนำแบบอย่างการสร้างสิ่งเคารพมาเผยแพร่  เช่น  การสร้างพุทธเจดีย์บรรลุพระบรมธาตุ(อันมีพระปฐมเจดีย์เป็นหลักสำคัญ)  ธรรมจักรกับรูปกวางซึ่งหมายถึงพุทธประวัติตอนทรงแสดงปฐมเทศนา  กระทั่งถึงในยุคอินเดียนิยมสร้างพระพุทธรูปแพร่หลายมากแล้ว  ประเทศไทยจึงได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปตามพระอารามต่าง ๆ  กันมากขึ้น  ในบทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงพระพุทธรูปที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มากมายในประเทศไทย
    เพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึง  พระปฐมเจดีย์ในแง่ของคู่บ่าวสาวที่มีความรักแล้วเอ่ยถึงองค์พระปฐมเจดีย์ในคราวที่อยู่ห่างไกลกัน  อบค์พระอุทเทสิกเจดีย์  ซึ่งเจดีย์ในพระพุทธศาสนานั้นแบ่งออกเป็น  ๔  คือ
1.    ธาตุเจดีย์  คือที่บรรจุพระบรมธาตุ
2.    บริโภคเจดีย์  คือสถูปที่บรรจุทะนานดวง3.    พระบรมธาตุ
4.    อุทเทสิกเจดีย์  คือพระพุทธปฏิมา
5.    ธรรมเจดีย์  คือสถูปที่บรรจุใบลานหรือสิ่ง6.    ที่จารึกพระธรรม(คู่มือพุทธประวัติ)
ส่วนพระปฐมเจดีย์  ถือว่าเป็นธาตุเจดีย์ แต่เจดีย์แรกดั้งเดิมนั้นคือธรรมเจดีย์อันหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  ซึ่ง
ประเสริฐสุดแต่พอพระองค์เสด็จดับขันปรินิพพานแล้ว  คนก็นับถือธาตุเจดีย์เป็นพระบรมสารีริกธาตุ  แต่ผู้ที่นับถือพระบรมสารีริกธาตุชั้นต้นนั้นเป็นเพียงอุบาสกอุบาสิกานับถือไม่เกี่ยวกับพระเพราะพระเข้ามาบวชเพื่อเข้าสู่ความหลุดพ้นมุ่งปฏิบัติบูชามากกว่าอมิสบูชา
    ระยะแรกไม่มีธาตุเจดีย์เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์จะเห็นได้ชัดในขั้นต้น  ภายหลังจึงเข้าสู่วัดและพระ   ทีหลังจึงมาอุเทสิกเจดีย์ซึ่งอุทิศถวายพระพุทธเจ้า  อะไรก็ได้ที่อุทิศถวายพระพุทธเจ้า  เช่น  ต้นโพธิ์   ก็เป็นสัญลักษณ์  เพราะพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์
    เพราะฉะนั้น  ในการศึกษาถึงความหมายของปูชนียวัตถุสถานนั้นจึงควรแยกประเด็นให้ถูกต้อง  ความมุ่งหมายและความสำคัญของปูชียวัตถุสถาน  คือมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมควบคู่กันไป  เพื่อจะได้เข้าใจถึงบทเพลงลูกทุ่งที่มีเนื้อหาสาระกล่าวถึงปูชนียวัตถุเหล่านี้  แม้ในความคิดของคนไทยนั้นอาจจะคิดไม่ถึงว่าเพลงเหล่านี้จะมีศาสนสมบัติปรากฎอยู่ในบทเพลง   ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่สนใจจริง ๆ  แล้วย่อมไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกต่อการค้นคว้า  ผู้ศึกษาได้แยกแยะออกเป็นหมวดหมู่ไว้  ๒  ประเภทด้วยกัน คือ
              

                  บทเพลง   ประเภทเจติยสถาน
  บทเพลงซึ่งรายละเอียดนั้น  จะได้แยกแยะให้เห็นเป็นลำดับไป  ดังนี้
    ก.  ประเภทเจติยสถาน
    เจดียสถาน  คือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้ใช้เพื่อการประกอบกิจกรรมทางด้านสังฆกรรมแต่เพื่อเป็นเจติยสถาน  คือ สถานที่มีความสำคัญควรแก่การเคารพหรือเป็นอนุสรณ์สถานที่ควรน้อมระลึกถึง  เช่น  พระสถูปเจดีย์แบบต่าง ๆ  พระพุทธปรางค์  พระมหาธาตุเจดีย์  พระมณฑปที่ประเสริฐฐานรอยพระพุทธบาท  เป็นต้น(วันดี) 
    พระธาตุซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา   คือ ที่บรรจุพระบรมธาตุ  ในตอนต้นมี  ๘  แห่ง  ตามเมื่อที่ได้รับแบ่งพระบรมธาตุในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลายแห่งที่มีความเชื่อถือว่าเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ
    บทเพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงพระธาตุนั้นมีอยู่หลายเพลง  เพราะคำว่าพระธาตุนั้นมีอยู่หลายจังหวัด  อาจจะตั้งชื่อแปลกกันไปบ้าง  นั้นคือความเชื่อของท้องถิ่นที่มีความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว  บ้างก็กล่าวถึงครั้งเคยเที่ยวงานพระธาตุ  ดังบทเพลงลูกทุ่งว่า
    “เย็นลมเหมันต์ผ่านผันยิ่งพาสะท้อนโอ้น้องบังอร
    ก่อนนั้นเคยคลอเคียงข้าง  ครั้งเที่ยวชมงานพระธาตุพนม
    ยามหน้าหนาว  พี่ยังไม่ลืมนงเยาว์  โอ้แม่สาวเรณู..”
        (หนาวลมที่เรณู :  สุรินทร์  ภาคศิริ)
    “จากสกลเมืองหนองหานล่ม  จากนครพนม หนี
    ไร่หนีมา  ทิ้งพระธาตุที่เคยได้บูชา  จากอีสานบ้านนา  เจ้าลืม
    สัญญาเฮาเคยเว้ากัน...”
    (หนุ่มนานครพนม  :  สุมทุม  ไผ่ริมบึง)
    “น้ำตาหล่นเสียแล้วละคนอีสาน  เมื่อสมบัติคู่บ้าน
    ของชาวอีสานมาถล่ม สุดเสียดายองค์พระธาตุพนม ก่อนนี้
    เคยกราบก้มกลับมาถล่มจมพสุธา
    เหตุเกิดวันทีสิบเอ็ดสิบหา  เมื่อตอนเวลาเอ้ยตึกสงัด
    สายฝนกระหน่ำลมซ้ำสะบัด  จนพระเณรต้องตื่นผวาโอ
    อะนิจจัง   วะตะ  สังขารา  ฟ้าได้บัญชาอาญาโทษทัณฑ์  คล้ายดัง
    สายฟ้า...เอ้ย....คล้ายดังสายฟ้าฟาดเปรี้ยง   ลงมาองค์พระธาตุทันใด....”
        (อาลัยพระธาตุพนม  :  เทพพร  เพชรอุบล)
    “...สาวอุบลคนทันสมัย  อยู่ในเมืองใหญ่ราชธานี
    กราบพระธาตุนครพนมดลใจเอวกลมรับรักสักที  กาฬสินธุ์
    กลิ่นสาวโสภี  งานล้ำนารีมหาสารคาม...”
    (หนุ่มเหนือแอ่วอีสาน  :  เทอดไทย  ชัยนิยม)
    บางครั้งองค์พระปฐมเจดีย์  ก็เป็นที่พึงของหนุ่มสาวผู้ที่กำลังตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก  โดยการฝากคู่รักไว้กับองค์พระปฐมเจดีย์ แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานของจิตใจนั้นมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา  และเพลงสะท้อนให้เห็นถึงของมีค่าในถิ่นนั้นด้วย เช่น องค์พระปฐมเจดีย์   ข้าวเปรียบ  น้ำตาล   พร้อมทั้งเทศกาลงานเขางูออกร้าน  บทเพลงลูกทุ่งกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ  ดังบทเพลงว่า
    “ฝากอนงค์ไว้กับองค์ปฐมเจดีย์   ขอให้ช่วย
    คุ้มครองน้องพี่อย่าให้มีใครลอบมาชม   ย้อนมาคราวหน้า
    จะมาหอมแก้วเอวกลม  จะหิ้วข้าวเกรียบที่เขานิยม  มา
    ฝากคนสวยพร้อมพร้อมด้วยน้ำตาล
    รถเมล์รับจ้าง  ประจำทางสายเพชรบุรี  จากองค์ปฐม
    เจดีย์ลับตาพาเสียวใจซ่าน  ผ่านราชบุรี  เห็นมีงานเขางู
    ออกร้าน  เหลืองเห็นเจ้าข้าวหลามตาหวาน  คิดถึงนงคราญ
    นครปฐม”
        (นิราศรักนครปฐม : ไพบูลย์  บุตรขัน)
    บทเพลงลูกทุ่งเอ่ยถึงรอยพระพุทธบาทจำลอง  ในฐานะที่เป็นสถานที่ศักด์สิทธิ์ของชาวไทย  ออกพรรษาในแต่ละปีจะมีการตักบาตรดอกไม้  และปิดทองพระพุทธบาทจำลองดังบทเพลงว่า
    “....เคยเที่ยวชมน้ำตกสามชั้น  นมัสการพระพุทธ
    บาทงานปีมีเธอเคียงกายออกพรรษาตักบาตรดอกไม้  สองเรา
    ได้ทำบุญร่วมกัน
    สระบุรี  รักพี่ต้องเสียสละ  ใจเธอมาผละจากพี่ไปมี
    ใหม่ผูกพัน  เหลือเพียงรอยรักสองเราเอาไว้ที่นั่น  ผ่านไปใจ
    ยิ่งโศกศัลย์  ไม่เจอจอมขวัญสาวเมืองหินกอง....”
        (สละรักสระบุรี :   ขับร้องโดย  สังคม  แสงดารา)
    อุทเทสิกเจดีย์  คือพระพุทธปฏิมา ซึ่งชนทั้งหลายสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องสักการะระลึกถึงพระพุทธองค์  การสร้างพระพุทธรูปในสมัยแรก  เป็นการสร้างเพื่อถือเป็นสรณะถึงพระพุทธเจ้า  โดยประดิษฐานไว้ตามพระเจดีย์  ต่อมามีการสร้างโบสถ์สร้างวิหารขึ้น  ก็สร้างพระประธานประดิษฐ์ไว้  เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของพระสงฆ์  และพุทธศาสนิกชนที่ไปประชุมรวมกันอยู่ในนั้น
    ในเรื่องนี้  ส.ศิวรักษ์  ได้ให้ข้อคิดว่าการสร้างพระพุทธรูปในสมัยแรกนั้นพวกกรีกเป็นคนสร้างขึ้น  หลังจากที่พวกกรีกนับถือพระพุทธแล้ว    เมื่อเกิดปัญหาพระยามิลินท์ซึ่งเป็นชาวกรีก  พวกชาวกรีกก็เอาแนวคิดที่บุคคลคิดมาทำเป็นพระพุทธรูป  ระยะแรกฝ่ายพระถือเป็นเรื่องใหญ่เกือบจะเกิดสังฆเภทที่เอาพระพุทธรูปเข้ามา  พอพระพุทธรูปเข้ามาคนโบราณก็เห็นว่าเป็นทั้งคุณและโทษ  เป็นคุณคืออาจจะทำให้เกิดศรัทธาปสาทะ   ถือว่าเป็นพุทธคุณ  ส่วนเป็นโทษคือกลัวจะไปติดวัตถุ  ดังที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่าพระพุทธรูปนั้นเป็นภูเขากั้นพุทธธรรม  เพราะในสมัยราณนั้นการสร้างพุทธรูปนั้นจึงมุ่งที่ความงามและไม่ได้มุ่งที่ตัวบุคคล  อย่างเชื่อว่าพระพุทธชินราชมีชีปะขาวมาสร้างและสร้างไว้ในสถานที่ซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์ไม่เอามาไว้เป็นเด็ดขาด  จนสมัยราชกาลที่  ๓  พระองค์ได้มีพระราชปุจฉาถามกันว่าเอาพระพุทธรูปไว้บ้านนั้นผิดหรือไม่  เพราะเป็นเรื่องต่ำ – สูง  โดยถือว่าในบ้านนั้นเป็นที่บริโภคกาม  เอาตัวแทนของพระพุทะองค์มาอยู่ย่อมไม่ถูกต้องนัก
    คนที่ถือพุทธะมากเท่าใด  เข้าใจเนื้อหาสาระมากเท่าใดก็ติดในพระพุทธรูปน้อยเท่านั้น  เข้าใจเนื้อหาสาระของพระพุทธศาสนาน้อยเท่าใด  ก็ติดในพระพุทธรูปมากเท่านั้นและหนักเข้าก็กลายเป็นวัตถุมงคลและกลายเป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์   จนกลายเป็นเรื่อยไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง(ส.ศิวรักษ์)
    เป็นอย่างไรกก็ตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น  ในแต่ละท้องถิ่นนั้นย่อมไม่เหมือนกัน  โดยแต่ละท้องถิ่นนั้นปรากฎนามไม่เหมือนกัน  แต่ก็ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของท้องถิ่นซึ่งมีศักดิ์สิทธิ์  อันเป็นที่เคารถบูชา  อนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญ  ที่เรียกว่าปูชนียสถาน  เพลงลูกทุ่งได้นำมากล่าวในแต่ท้องถิ่นนั้น
    จังหวัดพิษณุโลกมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารถบูชาของชาวเมืองเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  คือ  “พระพุทธชินราช”  ซึ่งมีงานฉลองทุกปีและพระเครื่องที่ขึ้นชื่อของชาวพิษณุโลกก็คือ “พระนางพญา”  ซึ่งอยู่ที่วัดนางพญา  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก(ลักขณา)  ดังบทเพลงว่า
    “...มาลัยดอกรักจากสาวสวยนัยนาโศกได้รับที่
    พิษณุโลกยังวิโยคครวญหา  ที่ยังอาวรณ์ใคร่ย้อนกลับมาอยู่
    เยือนพระนางพญาเมื่อเห็นหน้าเจ้าของมาลัย
    เคยมาเที่ยวงานออกร้อนทุกปีไม่ขาด  ไหว้หลวงพ่อ
    พุทธชินราช  ชาวพุทะศาสน์เลื่อมใส...”
        (มาลัยจากพิษณุโลก :  ไพบูลย์   บุตรขัน)
    ในแต่ละท้องถิ่น  การตั้งชื่อก็ไม่เหมือนกัน และการปฏิบัติก็ทำแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ละภาค พุทธศาสนิกชนย่อมให้ความเคารพสักการะเพราะมีความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว  บางท้องที่ก็นำองค์พระมาแห่  บางท้องที่เมื่อถึงเทศกาลงานประจำปีก็นำลงมาปิดทอง  ดังบทเพลงว่า
    “..อยุธยาดินแดนที่แสนศักดิ์สิทธิ์  หลวงพ่อมงคล
    บพิตรศักดิ์สิทธิ์เราเคยเลื่อมใส   อีกพระเจดีย์แม่ศรีสุริโยทัย
    เรเคยขอพรวอนไหว้  ให้ดวงใจเรารักมั่นคง...”
        (ซากรักบึงพระราม  :  โรม  ศรีธรรมราช)
    “...เมื่องานเดือนสิบสองน้องเอ๊ย  เคยเที่ยวกับพี่
    ชักพระทุกที  ปีนี้น้องไปอยู่ไหน...”
    (ไอ้หนุ่มสวนยาง  :   ขับร้องโดย  สุดรัก  อักษรทอง)
    “...เคยเที่ยวสุขสันข์  งานวันแห่พระ  น้องยังสละขาย
    ข้าวขนม  แต่แล้วความฝันดังลม  นวลน้องคู่ชมหนีหน้าจากจร”
        (ไอ้หนุ่มชุมพร :  ประจวบ  วงศ์วิชา)
    แม้นว่าบทเพลงลูกทุ่งจะกล่าวถึงความรักระหว่างหนุ่มสาวอยู่เป็นจำนวนมาก็ตาม  แต่ในความรักนั้นก็แฝงด้วยคุณธรรมที่ยึดถือเอาหลักทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว  จะเห็นได้ว่า  ในคราวที่พรัดพรากจากรักก็ยังรำลึกถึงองค์พระที่ตนเองนับถือ  อ้อนวอนให้เจอคู่รัก  ดังบทเพลงว่า
    “...บางประกง  น้ำคงขึ้น ๆ ลง ๆ  ใจอนงค์ก็คงเลอะ
    เลือนกะล่อน  ปากน้ำเค็ม  ไหลขึ้นก็จืดก็จาง  ใจน้องนาง
    รักนานเลยจางจากจรใจนารีสวยสด  คงคดดั่งลำน้ำ  พี่ขืน
    พายจ้ำคงต้องช้ำแน่นอน  ต้องจอดเรือขอลาก่อนแม่กานดา
    งามงอน  งอนหลวงพ่อโสธร  จงดลใจยอดชู้  เจ้าอยู่แห่ง
    ไหนอยู่ใกล้หรือไกลสุดกู่  ได้ยินเพลงร้อง  น้องจงคืนสุ่  พี่
    ยังคอยพธูอยู่ที่บางประกง”
        (รักจางที่บางประกง  :  สดใส   ร่มโพธิ์ทอง)
    พระพุทธรูปบางอค์  ชาวบ้านสร้างไว้เพื่อที่จะเอาไว้บนบานในเวลามีงานบ้านมักจะเชื่อ  จะสังเกตได้จากการบนบาน  บวงสรวงแม้กระทั่งหาเงินเพื่อจะไปสู่ขอเจ้าสาว  ดังบทเพลงว่า
    “.....งานวัดท่าหลวง  บวงสรวงพ่อเพชร  แล้วงหน้านา
    เสร็จลูกใคร่จะไปสู่ขอ  ทำนาหาทุน  บนบานพึ่งบุญหลวงพ่อ
    ขายข้าวในนา  เก็บหาเงินพอ  จะขอแต่งงานกับน้อง
    สาวงามพิจิตร  อดีตชาลวน  เธอลูกใครกันเล่าจ๊ะ แม่
    จันทร์แสงส่องหรือเป็นเชื้อชาติทายาทตะเภาทอง  อยากเป็น
    ตะเข้  ว่ายเร่คาบน้องพากลับวังทอง  เคล้าครองแนบนอน”
        (สาวงามเมืองพิจิตร  :  สดใส   ร่มโพธิ์ทอง)
    “พรุ่งนี้พี่ต้องจำจากจร  ตื่นจากนอนไปตอนไก่โห่
    สั่งลาเข้าสู่กรมกองลำยองนั่งร้องไห้โฮ  กราบหลวงพ่อ
    โตวัดป่าก่อนไปพี่จากลำยอง  ไปสองปีจะรอพี่ได้ไหม  มีไอ้หนุ่ม
    เมียงมองหมายปองกลัวลำยองจะนอกใจ ยามเมื่อพี่จากไกล
    ไปเป็นทหารลากลับมาบ้านใจหาย...”
        (เสียดาย  :  ขับร้องโดย  ศรเพชร  ศรสุพรรณ)

bandonradio

24. บทเพลงลูกทุ่งสัมพันธ์กันกับทานพิธี

ทานพิธี
    วิธีบำเพ็ญทานนั้น  ในสมัยพุทธกาลมีไม่มากวิธีนัก  เช่น  การตักบาตรเลี้ยงพระ  ทอดกฐิน  ทอดผ้าป่า  บังสุกุล  เป็นต้น  แต่ต่อมาภายหลังวิธีทำบุญได้วิวัฒนาการไปมากเช่นการตักบาตรซึ่งเดิมจริง ๆ  ก็มีเพียงการเอาข้าวสุกใส่บาตรให้พระนำไปฉันที่วัดเท่านั้น  แต่ปัจจุบันการใส่บาตรก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบถวายไป  เป็นตักบาตรน้ำผึ้งตักบาตรน้ำมัน  ตักบาตรเงิน  เป็นต้น(พระมหาเอกนรินทร์)
    อย่างไรก็ตาม  ในการทำบุญให้ทานนั้น  เจตนาถือว่าสำคัญ  จะต้องมีเจตนาทั้ง  ๓   กาล  คือ  ก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน  และหลังจากให้ทานแล้ว  ผลบุญจึงจะได้สมบูรณ์ดังพระคาถาว่า
    “ทายกก่อนแต่จะให้เป็นผู้ใจดี  กำลังให้ทานอยู่ก็ยังจิตให้ผ่องใส
    ครั้นให้ทานแล้ว  ย่อมปลื้มจิต  นี้เป็นยัญสมบัติ  (ความสมบูรณ์ของทายก)”(องฺ ฉกฺก)
ส่วนวัตถุที่พึงให้ทานนั้น  ท่านกล่าวไว้มี  ๑๐  อย่าง  คือ  อย่างนี้บางอย่างก็ไม่เหมาะต่อการถวายแก่พระสงห์  ในประเด็นนี้ผู้ศึกษาพึงแยกแยะให้ถูกว่าสิ่งไหนควรไม่ควร   การบำเพ็ญทานดังกล่าวได้กลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวพะทธศาสนิกชนไปแล้ว   ดังที่ปรากฎในหลักของศาสนพิธีต่าง ๆ  ซึ่งกล่าวถึงแบบอย่างของพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องเพื่อความเป็นระเบียบและครบถ้วนตามหลักศาสนพิธีที่ชาวพุทธยึดถือกัน
    การบำเพ็ยทานนั้น  เมื่อถือหลักเจตนาของผู้บริจาคเป็นที่ตั้งแล้ว  แบ่งออกเป็น  ๒  อย่าง  คือ
1.    ปาฏิบุคลิกทาน  ถวายเจาะจง2.    พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง3.   
4.    สัง5.    ฆทาน  ถวายไม่เจาะจง6.    แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง7.    (พ.อ.)
ผู้รับทานหรือปฏิคคาหก  (เรียกว่า  บุญเขต)  ต้องเป็นบุญเขตหรือเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมจึงจะทำให้ผลทานหรือสักการบูชามีผลานิสงส์มากในธัมมปทัฎกถามีพุทธดำรัสว่า  “เมื่อจิตประณีต  ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  ย่อมไม่ชื่อว่าเศร้าหมอง”(จิตฺตสฺมึ)   คือเมื่อตั้งใจให้ทานในผู้รับที่บริสุทธิ์   ทานย่อมให้ผลเต็มที่ในพระพุทธศาสนายกย่องการเลือกให้ (วิจยทาน)  ดังที่พระพุทธเจ้าว่า  “พึงเลือกให้ทานในบุญเขตที่มีผลานิสงส์มาก  ที่พระสุคตตรัสสรรเสริญ   การให้แก่พระทักขิไณยบุคคล   เหมือนการหว่านพืชลงในนาดีฉะนั้น”(วิเจยฺย)
จากการศึกษาพบว่า  บทเพลงลูกทุ่งหลายเพลงที่กล่าวถึงการให้ทาน  เช่น  การให้ทานทำบุญในเทศกาลทอดกฐิน  ผ้าป่า 
ให้ทานปล่อยชีวิตสัตว์  แม้กระทั่งการทำบุญตักบาตรโดยทั่วไปก็ถือว่า  เป็นการให้ทานเหมือนกัน
    จากความเชื่อที่ว่า  “ทำบุญต้องอธิษฐาน  ให้ทานต้องปรารถนา”  ซึ่งเป็นคติชาวบ้านทั่วไปมักจะเชื่อว่าการตักบาตรทำบุญให้ทานนั้นผลอานิสงฆ์ต้องสะท้อนกลับอย่างแน่นอน  อย่างเพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงความสวยของสตรีเชื่อว่าได้มาจากแรงปรารถนาที่เคยได้ทำบุญให้ทานไป  จึงประสบผลด้วยพรสี่ประการ  คือ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  ดังบทเพลงว่า
    “ผู้หญิงที่สวยอย่างคุณ   ทำบุญไว้ด้วยอะไร  จึงสวย
    น่าพิศมัยน่ารักน่าใคร่พริ้งพราว  คงถวายมะลิไหว้พระ
    วรรณะจึงได้นวลขาว  เนตรน้องดั่งสอยจากดาว กะพริบ
    พร่างพราวหนาวใจ
    ตักบาตรคงใส่ด้วยข้าวหอม   จึงสวยละม่อมละไม  บุญทาน
    ที่ทำด้วยเต็มใจ  เธอจึงได้พรสี่ประการ  อายุ  วรรณะ  สสุขุ
    พละและปฏิภาณ   เพียงพบเจ้านั้นไม่นานพี่ซมพี่ซานลุ่มหลง”
        (ทำบุญด้วยอะไร :พยงค์  มุกดา)
    การจัดถวายผ้ากฐินจัดเป็นสังฆทาน  คือถวายโดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  ถวายในท่ามกลางสงฆ์  ภิกษุรูปใดจะได้ผ้านั้นเป็นสิทธิ์หรือเรียกองค์ครองนั้นเป็นหน้าที่ของสงวห์ในวัดนั้นจะพึงปรึกาหารือและตกลงกับมอบให้ภิกษุรูปที่สงห์เห็นสมควรสามารถทำกฐินถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในทักขิณาวิภังคสูตรว่า  “ดูก่อนอานนท์ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น  เรากล่าวว่ามีผลนับไม่ได้  แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฎิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ  เลย”(ม.อุ)  การทอดกฐินจัดว่าเป็นการถวายเพื่อสงฆ์โดยเฉพาะและการถวายกฐินนี้จัดว่าเป็นกาลทาน  คือถวายได้เฉพาะกาลหนึ่งเท่านั้น  จะถวายตามใจชอบไม่ได้
    บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงการถวายทานที่ยิ่งใหญ่เรื่องการทอดกฐินไว้อย่างมากมายเพราะชาวไทยถือว่าเป็นงานบุญประเพณีด้วย  เพราะฉะนั้นเรื่องกฐินจึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธให้ความสำคัญ  เมื่อถึงเทศกาลก็ชักชวนกันทำบุญ  โดยยึดหลักศาสนพิธีทางศาสนกระทำกันอย่างถูกต้อง  ดังบทเพลงว่า
    “ว่าโอ้วันนี้  นะพี่น้องเอ๋ย  จงอย่าละเลยพี่น้องทั่วถิ่น
    เสียงเครื่องขยายที่ท่านได้ยิน  เป็นงานกฐินของวัดบ้านเรา
    ถึงกาลแล้วหนอ  พอออกพรรษากฐินกาลทานมาเหมือนเก่า
    บุญประเพณีมีนานเนา  สมัยพระพุทธเจ้าของเรามีรวมกัน
    ทอดผ้าโมทนากฐินเชิญท่านทุกถิ่นเพิ่มบุญราศี  เป็นกุศล
    พิเศษเจตนาดี  บุญยิ่งใหญ่นี้ทำยากยิ่งนา
    จะต้องอาศัยซึ่งกำลังทรัพย์  และตามอันดับคือกำลัง
    ปัญญา  เข้ามาประกอบกำลังศรัทธา  จึงจะเป็นบุญญากฐิน
    ทาน...”
        (อานิสงส์ทอดกฐิน  :  ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    ในการสร้างวัดนั้นถือเป็นงานใหญ่  แม้ว่าจะไม่สามารถช่วยเหลือในทางทรัพย์สินได้ก็อาจจะช่วยในทางกำลังความคิด   กำลังกาย  หรือกำลังใจ  คือให้การสนับสนุนโดยไม่ขัดขวางก็ย่อมเป็นการให้ทานและเป็นการสร้างสมบูญบารมีให้เกิดขึ้น   เพราะมีแรงศรัทธาในศาสนาเช่นกัน   ถือว่าท่านกำจัดมลทินคือความตระหนี่อย่างสิ้นเชิง  อันใคร ๆ  ไม่ติเตียนได้จะได้เข้าถึงโลกสวรรค์(ขุ.วิ)   ตามปกติแล้วการทำทานทุกชนิดย่อมมีอานิสงส์ของทานนั้นเสมอ  ถ้าผู้ให้ทานกระทำไปด้วยใจบริสุทธิ์  ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่(วันดี)   พระพุทธเจ้าก็ได้แสดงถึงอานิสงส์ของการถวายทานว่า
    “ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก  ชื่อว่าดำเนิน
    ตามธรรมของสัปบุรุษ   สัปบุราผู้สงบ  ผู้สำรวมอินทรีย์  ประกอบ
    พรหมจรรย์  ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ   สัปบุรุษเหล่านั้นย่อม
    แสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา   เขาได้ทราบชัด
    แล้วย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้   ปรินิพพานในโลกนี้”(องฺ ปญฺจก)
    เพลงลูกทุ่งได้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ให้พุทธศาสนิกชนร่วมบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาคทรัพย์สร้างวัด  หรือศาสนสถานซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา  ในการนี้พระพุทธศาสนาเน้นหนักการบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา   ในชนบทนั้นวัดเป็นศูนย์รวม  เมื่อมีกิจกรรมเกี่ยวกับทางวัด  ชาวบ้านจึงพร้อมใจสามัคคีพากันไปช่วยกันหาทุนสร้างชีวิตดังบทเพลงว่า
    “สิบนิ้ววันทาและมาบอกบุญ  เชิญนะคุณ ๆ  มาร่วมใจทำบุญสร้างวัด
    สละกันไปไม่ใช่เรี่ยไร  แต่มาบอกบุญเสนาสนะมันผุพัง  คอยความหวังจากคุณ ๆ  ทำบุญกันเถิดจะ
    เกิดบุญรวบรวมเป็นทุนให้วัดไป
    โอ้โบสถ์วิหารกระดานกุฎีทรุดโทรมเสื่อมศรีน่าเศร้าใจ
    พระสงฆ์องค์เจ้าเข้าอาศัย  ท่านจะสุขใจอย่างไรดี  เราคน
    ไทยชาวพุทธเชื้อศากยะพระมุนีเรื่องบุญกุศลทุกคนยินดี
    สุดที่พลีบริจาคทานตามกำลังศรัทธา  แต่ทำเอาหนังหน้าต้องการ
    การ   คนละบาทสลึงได้ถึงนิพพาน  รวมกันให้หมดยังได้หลายโอ่ง
    ร่วมกันช่วยว่าจรรโลง  สิ่งประสงค์ดังใจปอง...”
    (เชิญทำบุญสร้างวัด  :  ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    การปล่อยนกปล่อยปลาในเทศกาลสงกรานต์นั้น  คนไทยถือว่าเป็นการให้ทานแก่ชีวิตเหมือนกัน  สงกรานต์บ้านนา  นอกจากจะเป็นเทศกาลที่นำมาซึ่งความสนุกสนานหรรษาของชาวไทยอย่างแท้จริง  การทำบุญช่วยชีวิตเขาให้พ้นความตาย  ถือว่าได้ต่ออายุของเขา  บางครั้งผู้ปล่อยยังอธิฐานขอให้เคราะห์กรรมต่าง ๆ  หายไปพร้อมกับนกและปลา
    การปล่อยนกปล่อยเลานี้ถือเป็นกุศลอย่างหนึ่งของคนไทยและคนไทยส่วนมากมักจะมีจิตใจเมตตากรุณาต่อสัตว์(แปลก)  คนไทยจึงนิยมทำกันมาก  เพราะเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้เบาบางลง
    เนื้อหาสาระของเพลงลูกทุ่งยังคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดีงามของเมืองไทย  เช่น  การเล่นรำวงชาวบ้าน  การเล่นช่วง  เล่นสะบ้า  ตลอดจนปล่อยนกปล่อยปลา  สงกราน์บ้านนาจึงเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์   ดัวเพลงว่า
    “สงกรานต์บ้านนา  วันนี้กานดาสุขกันชุ่มฉ่ำ
    เล่นช่วงสนุกหนักหนา  พร้อมเล่นสะบ้า  เริงร่าเหลือล้ำ  ใคร
    แพ้แน่นอนถูกตี  ถ้าแพ้คน  พี่ไม่ว่าสักคำ
    นานทีปีหน  วันเวียนวนให้มาดื่มด่ำ  ปล่อยนกปล่อยปลา
    ปะแป้ง    คนใส่เสื้อแดงแต่งตัวงามล้ำ  กลางคืนรื่นรมย์รำวง
    ขอเชิญโฉมยงมาเป็นคู่รำ
    สงกรานต์บ้านเรา  ประเพณีเก่า ช่วยกันจุนค้ำ สนุก
    ทุกข์แบบไทย ๆ  อย่าไปหลงใหลของใหม่เต้นบั้มพ์
    อย่าปล่อยให้เสื่อมสูญไป  เราคนไทยต้องใส่ใจจำ..”
        (สงกรานต์บ้านนา :   ข้อร้องโดย ยอดรัก  สลักใจ)
    สมัยหนึ่ง  เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้วเสด็จไปจำพรรษา  ณ  บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในดาวดึงส์เทวโลก  เพื่อจะตรัสพระสัทธรรมเทศนาสัตตปกรณาภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา  ครั้นถึงวันปวารณาสมเด็จพระบรมศาสดาทรงปวารณาพระวัสสาแล้วเสด็จจากดาวดึงส์พิภพมาสู่มนุษย์โลก  โดยบันไพทิพย์ทั้ง  ๓  คือ   บันไดทอง อยู่ ณ  เบื้องขวา  บันไดเงิน  อยู่  ณเบื้องซ้าย  บันไดแก้วประดิษฐานอยู่ในท่ามกลาง  และเชิงบันไดทั้ง  ๓  นั้นจดพื้นภูมิภาคปฐพี  ณ ที่ใกล้เมืองสังกัสสนคร  และศีรษะบันไดเบื้องบนยอดเขาพระสิเนรุราชอันเป็นที่ตั้งแห่งดาวดึงส์พิภพ  บันไดทองเป็นที่แห่งหมู่เทวดาอันตามส่งเสด็จ  บันไดเงินเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหมบันไดแก้วในท่ามกลางเป็นทางเสด็จของพระบรมครูสัพพัญญูเจ้า
    การทำบุญตักบาตรเทโว  ก็เท่ากับทำบุญตักบาตรต้อนรับพระพุทธองค์  ในคราวเสด็จลงจากเทวโลกนั่นของทำบุญที่นิยมกันเป็นพิเศษในกาลทานนี้  คือข้าวต้มลูกโยน  ซึ่งเอาข้าวเหนียวมาห่อด้วยใบมะพร้าวไว้หางยาง
    การที่ทำบุญให้ทานด้วยข้าวต้มลูกโยนนั้น  กล่าวกันว่าในครั้งนั้นสมเด็จพระบรมศาสดาถูกห้อมล้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ผู้ที่เข้าถึงพระองค์ก็มีผู้ที่เข้าไม่ถึงก็มี  ดังนั้น  ผู้ที่เข้าไม่ถึงก็โยนเข้าไป  เมื่อถึงวันกำหนดการตักบาตรเทโว  พุทธศาสานิกชนทั่วไปก็จะตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตร  สรุปลงได้ว่า  ทำให้ใกล้กับความจริง  เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชาวพุทธก็ได้มีโอกาสบำเพ็ญทานพิธี  ซึ่งชาวพุทธเรียกวันนี้ว่า “เทโวโรหณแปลว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก”
    บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงการเตรียมตัวไปตักบาตรทำบุญในวันนี้สิ่งที่ตระเตรียมก็คืออาหารกระป๋อง  นมข้ม  น้ำตาล  และข้าวสุก  เป็นต้น ชาวพุทธมักจะถือวันนี้เป็นวันสำคัญได้พบเพื่อนและญาติพี่น้องที่มาร่วมทำบุญที่วัด  ดังบทเพลงว่า
    “เดินไปยิ้มไป วัดเหนือวัดใต้มีงานใหญ่โต  วัดเล็ก
    วัดน้อยวัดใหญ่ทำบุญกันให้จิตใจสุโข  ไม่ว่าชาวบ้าน
    ห้างร้านตลาด  วันนี้ชวนญาติมาตักบาตรเทโว   ตั้งใจเอาไว้
    แน่นอน  ฉันตื่นมาก่อนเมื่อตอนไก่โห่  ซื้อของมาจากตลาด
    จัดแจงใส่ถาดไปตักบาตรเทโวมีทั้งข้าวสุกและข้าวสารนมข้น
    น้ำตาลกาแฟโกโก้  ปลากระป๋องผัดผักดองผักกาด  จัดแจง
    ใส่บาตรไปตักบาตรเทโว  ทำใจเราให้เยือกเย็น  แต่งตัวให้
    เด่นฉันเป็นคนโก้  ใส่ทองหนักตั้งสิบบาทแต่งไปอวดญาติวัน
    ตักบาตรเทโว  ไปยืนคู่เคียงเรียงแถวพระมากันแล้วอย่ามัว
    คุยโว  ชาวไทยน้ำใจสะอาด  วันนี้รวมญาติ  มาตักบาตรเทโว”
    (ตักบาตรเทโว  :  ขับร้องโดย  พิมพา  พรศิริ)
    ในสังคมไทย  ซึ่งมีพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจย่อมมีการยึดถือในเรื่องการทำบุญให้ทานกันมากจึงกล่าวได้ว่า  คนไทยนั้นเป็นผู้ที่มีน้ำใจประกอบด้วยเมตตากรุณาเป็นที่ตั้งและสิ่งที่สำคัญก็คือคนไทยนั้นเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า  “การบำเพ็ญทาน  เพื่อกำจัดกิเลสในใจของผู้ให้”   ให้เรื่องของทานไม่เฉพาะเจาะจงเป็นคนขอทานหรือให้แก่พระสงฆ์ก็ใช้คำว่าทานเหมือนกัน
    บทเพลงลูกทุ่ง  หรือวงดนตรีลูกทุ่งนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้ทานไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม  จะเห็นได้ว่าวงดนตรีลูกทุ่งนั้นเวลาเปิดทำการแสดง  ส่วนมากก็ไปในงานบุญกุศลบุญให้ทานทั้งนั้น  แม้กระทั่งผู้ร้องเพลงลูกทุ่งก็บริจาคทานเองก็มี  เช่น  การทำบุญทอดผ้าป่า   ทอดกฐินเป็นต้นส่วนบทร้องของเพลงลูกทุ่งนั้น  จากการศึกษาและค้นคว้ามีอยู่มากมายส่วนมากจะปรากฎอยู่ในเพลงเกี่ยวกับ  งานบวช  งานผ้าป่า  กฐิน  และงานประเพณีอื่น ๆ อีกซึ่งมักจะเป็นเนื้อร้องในทำนองเชิญชวนพุทธศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญบริจาคทานสร้างวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าวัดในประเทศไทยนั้นมีอยู่มากมาย  ก็เนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องทานนั่นเอง 

bandonradio

23. บทเพลงลูกทุ่งกับบุญพิธี

            พิธีทำบุญการทำบุญเลี้ยงพระในงานอวมงคลเป็นการทำบุญที่ปรารถเหตุการตายเกิดขึ้นในครอบครัวมี  ๒  ประเภท  คือ  งานทำบุญหน้าศพได้แก่การทำบุญในพิธีการทำบุญ  ๗  วัน  ๕๐  วัน  ๑๐๐  วัน  และการทำบุญอัฐิการทำบุญครอบรอบวันตาย  เป็นต้น(สุเมธ)  และเพลงลูกทุ่งมีการกล่าวถึงในเรื่องนี้ไว้น้อยมาก  ตามที่ผู้ศึกษาได้ค้นพบ
             พุทธศาสนิกชนไทย  เมื่อถึงคราวสิ้นชีวิตลงจะต้องมีการนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดการสวดอาจจะตั้งไว้  ๓  คือบ้าง  ๕  คืนบ้าง  หรือมากกว่านั้นบทเพลงลูกทุ่งชื่อว่าวอนรักเป็นการแสดงออกของชายหนุ่มผู้ซึ่งมีรักไม่เสื่อมคลาย  และอาลัยอาวรณ์หาคู่รักเมื่อฟังพระสวดกุสลาก็อดที่จะสะท้อนความรู้สึกไม่ได้  ดังบทเพลงว่า
    “พระสวดกุสลา  น้ำตาฉันเอ่อ  ภาพเราสองคนนั้นเออ
    ทำให้เพ้อทูนหัว  เราสาบานรักต่อกันด้วยใจพันพัว  วิญญาณ
    น้องอย่าได้หวั่นไหว  จะรักทูนหัวตลอดชาตินี้”
        (วอนรัก  :  ขับร้องโดย ยอดรัก  สลักใจ)
    ถ้าผู้ตายมีบุตรหลานเป็นชาย  บุตรหลานมักจะบวชให้ในวันเผาชาวบ้านเรียกว่า  “บวชหน้าไฟ” (สุเมธ)  เป็นการบภายในระยะอันสั้นเพื่อจะจูงศพเท่านั้น  แต่ในขณะเดียวกันชาวพุทะก็มีความเชื่อว่าได้แสดงออกถึงความเป็นผู้กตัญญูกตเวทีเพราะบิดามารดาทั้งหลายย่อมหวังในตัวบุตรธิดาว่า
    “เมื่อยามแก่หมายเจ้าเฝ้ารับใช้  เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา
    เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา  หวังเจ้าช่วยปิดตาคราสิ้นใจ”
    สาระของบทเพลงลูกทุ่งที่กล่าวไว้อย่างสอดคล้องกับบทกลอนนี้ เช่น  เพลงสามเณรกำพร้า  ดังบทเพลงว่า
    “สิ้นร่มโพธิ์โถน่าใจหาย  อกเอ๋ยเหลือแต่ร่มไทร
    ต้องกลายเป็นลูกกำพร้า  ลูกขอลาบวชกรวดน้ำอุทิศไปหา
    พ่อเป็นทหารกล้าตายเพื่อรักษาชาติเรา
    ตัดสินใจโกนหัวบวชแล้ว  จูงศพพ่อขึ้นสู่เมรุ ชีวิตของ
    เณรแสนเศร้า โอ้ โอ  คุณพ่อวันนี้จะต้องถูกเผา  ร่างกายพ่อต้องเป็นเถ้าถูกไฟเผาแน่พ่อจ๋า..”
        (สามเณรกำพร้า :  สัมฤทธิ์  รุ่งโรจน์)
    เมื่อเผาศพและเก็บอัฐิมาบ้านแล้วจะมีการทำบุญ  ซึ่งกระทำแตกต่างกันไป  บางคนทำบุญ   ๗  วัน   บางคนก็ทำในวันนำเย็น  บังสุกุล  และเทศน์(พูนพิศมัย)   ในทางพระพุทธศาสนาสรรเสริญบุตรธิดาผู้ระลึกที่ทำแก่บุพการีบุคคลฉะนั้น   บุตรธิดาเช่นนี้  เรียกว่า “โอวาทการี  ภตโบสีบุคคลผู้ทำตามโอวาทบำรุงเลี้ยงท่านผู้ได้เลี้ยงตนหมา  ดำรงวงศ์สกุลมิให้เสื่อมทราม  เป็นคนมีศรัทธา  สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญดังนี้
    ในพระพุทธภาษิตนี้  พระพุทธองค์ทรงแสดงความปรารถของบิดามารดาผู้เป็นบัณฑิตโดยสถาน  ๕  ประการ คือ การเลี้ยงเป็นที่  ๑  การทำกิจเป็นที่  ๒  ดำรงศ์สกุลเป็นที่  ๓  ประพฤติตนสมควรเป็นทายาทเป็นที่  ๔  ทำบุญอุทิศให้ท่านเป็นที่  ๕  และบทเพลงกล่าวถึงการทำบุญหลังเก็บกระดูกอัฐิไว้ว่า
    “...ลูกจะขอทำบุญเจ็ดวันนิมนต์พระเทศน์หนึ่งกัณฑ์
    อุทิศผลทานหา  ขอให้วิญญาณพ่อสู่สวรรค์ชั้นฟ้า
    สามเณรกำพร้า  จะทำบุญหาพ่อเอง
    (สามเณรกำพร้า :  สัมฤทธิ์  รุ่งโรจน์)
    พิธีกรรมตามความเชื่อในประเพณีท้องถิ่นบางอย่างเกิดขึ้นเพราะความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะข้ามภพชาติได้ตามหลักศาสนาในชนบทนั้นบางที่ยังมีกองฟอน  เพื่อสำหรับการเผาศพ  ชาวบ้านจะต้องนำศพขึ้นกองฟอนแล้วเผา
    ชาวชนบทมีความเชื่อว่า  ขณะที่ไฟกำลังลุกโชนอยู่นั้น  ญาติพี่น้องผู้ตายจะกลับก็มีธรรมเนียมชักฟืนออก  ๓  ดุ้น  แล้วจึงเดินหันหลังกลับแล้วห้ามเหลียวหลังอีก  ฟืนติดไฟ  ๓  ดิ้น ก็หมายถึง ไฟคือ โลภะ โทสะ  โมหะ  ผู้ใดมีอยู่ก็จะเดือดร้อน  ยิ่งมีมากก็ยิ่งเผาผลาญผู้นั้นให้เร่าร้อนหาความสุขไม่ได้  ฉะนั้นจึงต้องชักออกไปเสียจากจิตจึงจะเป็นสุข  ถ้าเพิกถอนเสียโดยสิ้นเชิงก็เป็นพระขีณาสพผู้ดับเย็น   การห้ามเหลียวหลังเป็นการเตือนคนเป็นว่าอย่ากลับไปประพฤติสิ่งที่เป็นโลภะ  โทสะ  โมหะอีก(ผศ.สุเมธ)
    บทเพลงลูกทุ่งได้บรรยายถึงการเศร้าโศกเสียใจเมื่อความพลัดพรากจากกันมาถึงการปรารถนาพบกันในชาติหน้าก็เป็นความเชื่อถือหรือการปลอบใจตนเอง  ให้บรรเทาความทุกข์ลง  เพราะการพลัดพรากจากกันด้วยการตายนั้นเป็นการจากที่ไม่มีวันกลับมาที่ไม่มีวันกลับมาจะได้เห็นหน้ากันอีกดังสุภาษิตว่า
    “คนที่รักใคร่กัน  ตายจากไปแล้ว  ก็จะไม่ได้พบเห็น
    กันอีก  เหมือนคนตื่นขึ้น  ไม่เห็นสิ่งที่พบในฝัน”(สุปิเนน)
    ในเพลงสิ้นใจเมียนั้น  กล่าวถึงการจากไปของเมีย  และผัวก็รับภาระเลี้ยงลูกพร้อมทั้งยินดีจะบวชให้เมีย  ดังบทเพลงว่า
    “...มองเห็นศพน้องในกองฟอน  เสียงพระสวดมนต์
    อวยพร  พี่แสนอาวรณ์อาลัย  พี่ป้า,น้า,อา  ต่างก็มีความเศร้าใจ
    ลูกน้อยคร่ำครวญร้องไห้  มองเห็นควันไฟควันพุ่งขึ้นฟ้า
           เมียเอ๋ยเมียข้าหากชาติหน้ามี  จงมาเป็นเมียที่ดี
    เป็นราณีผัวนี้ครั้งใหม่  ผัวจะถนอมลูกน้อยของเราเติบใหญ่
    ขอบวชแทนคุณขวัญใจที่ลาลับไปสู่ในโลกา”
            (สิ้นใจเมีย  :  บรรจง  วรจักร์)
    ประเพณีของคนไทยเรานั้น  เมื่อญาติพี่น้องตายก็ต้องให้พบพระการนิมนต์พระในงานอวมงคล  ก็ใช้พระตั้งแต่  ๕  รูปขึ้นไป  การตระเตรียมทุกอย่างในด้านพิธีกรรม  ก็ใช้พิธีแบบพระพุทธศาสนา  เช่น  การปูลาดออาสนะสงฆ์  ถึงโต๊ะหมู่บูชา  พร้อมทั้งเครื่องสักการะ   เตรียมของต้อนรับพระและแขก  เตรียมสายโยงหรือภูษาโยง  ต่อจากโลงศพหรือที่เก็บอัฐิ  ไม่มีการวางสายสิจญน์และหม้อน้ำมนต์และตระเตรียมอาหารคาวหวาน  เป็นต้น
    เมื่อพระมานั่งประจำที่ก็ประเคนของรับรอบได้เวลาแล้วเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วจุดที่หน้าศพ   การสวดมนต์มาติกาบังสกุลแล้วถวายไทยธรรม  พระสงฆ์อนุโมทนาเจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายเป็นพิธีทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าศาสนาพิธีสืบต่อกันมา
    การฟังพระสวดมนต์นั้น  แท้ที่จริงแล้วเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอนให้ผู้อยู่ข้างหลังได้มีสติและทำใจได้  เพราะบทสวดกุสลาเมื่อจะสรุปความแล้วก็คือหลักธรรมที่สอนชาวพุทธ   แต่เพราะเป็นภาษาบาลีจึงไม่มีใครแปลออก
    แต่ธรรมที่แท้จริง  ย่อมสอนให้ญาติพี่น้องทำใจและคลายความโสกเศร้าเสียใจลงไปเพราะแม้นจะร้องไห้คร่ำครวญก็ไม่สามารถจะเรียกกลับคืนมาให้  ดังสุภาษิตที่มาในสัลลสุตร* (ตสฺมา)  ว่า
    “เพราะเหตุนั้น  เมื่อสดังธรรมเทศนาของพระท่านแล้ว
    ก็พึงระงับความคร่ำครวญร่ำไห้เสีย  ยามเมื่อเห็นคนล่วงลับ
    ดับชีวิตไปแล้วก็ให้กำหนดว่า  เขาตายแล้ว  เราจะให้เขาฟื้น
    ขึ้นมาอีกไม่ได้”*(ตสฺมา)
    บทเพลงลูกทุ่งมีกล่าวไว้เพียงหนุ่มผู้รักจริง  คร่ำครวญถึงคู่รักผู้จากไปในเหตุการณ์ที่ฟังพระสวดกุสลาอยู่   เกิดสะท้อนความคิดถึงคู่รักของตนเองผู้ซึ่งจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย  เพื่อตัดปัญหาจากโลกนี้  ดังบทเพลงว่า
    “...เสียงพระสวดกุสลาธรรมา   พ่อแม่พี่ป้าน้าเอาเศร้าใจ
    หนักหนาโศกาโศกี  เหตุการณ์ครั้งนี้เธอพร้อมยอมพลีทุกอย่าง
    ขอให้วิญญาณของนาง  จงมารับรู้อีกที  เมื่อก่อนเป็นคน
    เจ้าเคยลุ่มหลงเสียงพี่  ชีวิตดับลงเป็นผีฝากเพลงนี้ตอบแทน
    น้ำใจ  ไปสู่สุขาวดี  ชาติหน้าถ้ามี  ค่อยมาพบกันครั้งใหม่
    รักจริงจากนางเมื่อพี่รู้ก็สายเกินไป  แสนเศร้าเสียใจในการ
    จากไปของจันทร์เพ็ญ”
    (แด่ดวงวิญญาณจันทร์เพ็ญ  :  เฉลิมพล  มาลาคำ)

bandonradio

22.ความสัมพันธ์กันระหว่างบทเพลงลูกทุ่งไทยกับศาสนพิธิ

บุญพิธี
    พิธีทำบุญที่พุทธศาสนิชนปฏิบัติกัน  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะปฏิบัติตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในโอวาทปาฎิโมกข์  คือให้ทำความดีหรือทำบุญ  เพื่อพื้นฐานแห่งคุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไป (สุเมธ)
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๒๔  ให้คำนิยามของคำว่า  “บุญ”  ว่า  “เครื่องชำระสันดาน,  ความดี,  กุศล, ความสุข”  ในบางแห่งกล่าวว่าได้แก่  ความภูมิใจ,การล้าง ความแจ่มใส, ชำระ
    บุญ  แปลว่า  เครื่องชำระสันดาน,  ความดี,  กุศล,  ความสุข,  ความประพฤติชอบทางกาย  วาจาและใจ  กุศลกรรม(พระมหาเอกนรินทร์  เอกนโร)
    อย่างไรก็ดี  บุญนี้  เมื่อว่าโดยความเป็นสาเหตุหรือเป็นชื่อของเหตุ  ก็คือปฏิบัติ  อันบุคคลจะต้องปฏิบัติ,  ต้องทำ,  ต้องบำเพ็ญ,  ต้องเจริญ,  ต้องประพฤติเมื่อกล่าวโดยความเป็นผลหรือเป็นของผล  ได้แก่ความสุขอันเกิดแต่บุญ  เช่น  มีทรัพย์  มียศ เป็นต้น  สมด้วยพุทธนิพนธ์ภาษิตว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ท่านทั้งหลาย  อย่าได้กลัวบุญเลย  เพราะคำว่าบุญเป็นชื่อแห่งความสุข
    บางที  “บุญ”  ก็ใช้คู่กันกับคำว่า  “บุญกุศล”  ก็มี  “บุญกิริยา”  ก็มี  และใช้เป็นกรณียกิจ  คือกิจอันพึงกระทำก็มี  แม้จะใช้คู่กันกับคำอื่นดังกล่าวมา   แต่ความหมายก็คงไม่ผิดแผกแตกต่างออกไปเท่าไรนัก  ความหมายถึงความดีอันเป็นเครื่องยังจิตใจตลอดถึงกาย  วาจาของผู้ประพฤติปฏิบัติให้สะอาดหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
    บทเพลงลูกทุ่ง  กล่าวถึงวิธีการทำบุญไว้อย่างมากมาย  และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวชนบทที่ยังมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  เนื้อเพลงลูกทุ่งได้สะท้อนถึงความเชื่อของคนไทย  ในเรื่องพระพุทธศาสนาและเรื่องสวรรค์นรกไว้อย่างมากมาย   สำหรับในเรื่องของพระพุทธศาสนามักจะกล่าวเน้นถึงพิธีอันเป็นประเพณีของไทย(วินัย)    คือ  การบวช หรือ  อุปสมบท ทำบุญตักบาตรในเทศกาลต่าง ๆ  เช่น ขึ้นปีใหม่ ทอดผ้าป่า กฐิน สงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น
    ชาวพุทธโดยทั่วไปมีประเพณีประจำครอบครัวอย่างหนึ่ง คือ การทำบุญภายในครอบครัว  เรียกว่าบุญพิธี  เพื่อการเฉลิมฉลอง  เป็นต้น วิธีการปฏิบัติพิธีทำบุญก็คือ การสมาทานศีล, สวดมนต์, เลี้ยงพระ,  ตักบาตรวิธีการปฏิบัติพิธีทำบุญก็คือ  การสมาทานศีล, สวดมนต์, เลี้ยงพระ, ตักบาตรและถวายทาน  เป็นต้น  พิธีทำบุญนี้อาจจะแยกประเภทได้เป็น  ๒  ประเภท  คือ พิธีทำบุญงานมงคล  และพิธีทำบุญงานอวมงคล (สุเมธ)
    ก. พิธีทำบุญงานมงคล
    พิธีการทำบุญงานที่เป็นมงคลนั้น  ส่วนมากชาวพุทธจะรู้จักและเข้าใจพิธีกรรมอยู่แล้ว  เพราะโดยทั่ว ๆ  ไปก็มีการอาราธนาพระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์  นิยมกำหนดจำนวนอย่างต่ำเป็นเกณฑ์  คือไม่ต่ำกว่า ๕,๗ หรือ  ๙  รูป  จำนวนพระที่จะเข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์  นิยมพระจำนวนคี่  เพื่อรวมกับพระพุทธรูปอีก  ๑  องค์  เนื่องจากคติโบราณครั้งพุทธกาลถือการทำบุญพิธีนั้น  มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานหมู่สงฆ์(สุเมธ)  ตามที่ปรากฎในพระบาลีว่า “พุทธธปฺปมุโข  ภิกฺขุ  สงฺโฆ”(พระราชวรมุนี)  แปลว่า  พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  แต่ในงานมงคลสมรส  นิยมนิมนต์พระจำนวนคู่  เพื่อให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวนิมนต์พระฝ่ายละเท่า ๆ กัน
    พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญไม่ว่าปรารถเหตุใด ๆ  ก็ให้เข้ากับหลักบุญกิริยาวัตถุ  คือ
ทานมัย  ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ
สีลมัย  ทำบุญด้วยการรักษาศีล
ภาวนามัย  ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา  คือฝึกอบรมจิตใจและทำในกรณีต่าง ๆ   กันตามเหตุที่ปราร
ภจึงเกิดพิธีกรรมขึ้นหลายประการเมื่อพิธีกรรมใด  เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นพิธี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น(ชำเลือง)
    บทเพลงกล่าวถึงพิธีทำบุญงานมงคลอยู่หลายเพลง  ส่วนมากจะปรากฎเนื้อหาบทเพลง  เนื่องในเทศกาลต่าง ๆ  ที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมของคนไทย
    เพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงการทำบุญขึ้นปีใหม่  ซึ่งคนไทยเรามีธรรมเนียมประเพณีการอวยพรกันและกัน  กล่าวคำว่า “สวัสดีปีใหม่”  พร้อมทั้งให้ของขวัญด้วย   ในเพลงนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยมักจะมีน้ำใจและมีศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา  เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่มาถึงต่างก็ร่วมใจสามัคคีกันทำบุญ  ไม่ว่าอยู่ในที่ไหน ๆ  ก็ปรุนาบุญ   เพื่อที่จะส่งผลให้โชคดีนั้น  ดังเพลงว่า
    “รักกันชอบกัน        มาผูกพันวันปีใหม่
ทำบุญแล้วใจสว่าง        ทำบุญกันบ้างทั่วถิ่นเมืองไทย
บ้านโน้นก็มี  บ้านนี้ก็ทำ        พี่น้องชักนำไปทำบ้านใคร
ทราบไหมใครจัดที่วัดมีงาน        พี่น้องชาวบ้านช่วยกันร่วมใจ  ปีใหม่โชคดี
พวกพ้องน้องพี่  ขอให้มีโชคชัย    อยู่ห่างไกลที่ไหนก็มา
มีจิตศรัทธาทั้งเหนือทั้งใต้        นั่งรถมานานอีสานก็มา
ต่างยิ้มเริงร่าเมื่อมาร่วมใจ        ไหว้พระวิงวอน  เดือดร้อนเต็มที่
สิ่งไหนไม่ดี  ให้มันพ้นไป    ปีใหม่โชคดี  พวกพ้องน้องพี่  ขอให้มีโชคชัย”
        (ทำบุญปีใหม่ : ขับร้องโดย  พิมพา  พรศิริป
    เนื่องจากชีวิตในสมณเพศนั้นเป็นรูปแบบของการดำรงชีวิตแบบหนี่งที่จะต้องเสียสละความสะดวกสบายในทางโลกทุกประการ  เพื่อขจัดกิเลส  มุ่งบำเพ็ญคุณธรรมชั้นสูงขึ้นไปและในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนนั้นก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านอื่นด้วย  คือสงเคราะห์คฤหัสถ์ด้วยความเมตตาและเสียสละ
    ดังนั้นการพักอาศัยอยู่   จึงมิใช่วัตถุประสงค์หลักของพระสงฆ์วัตถุประสงค์หลักก็คือ  การอยู่เพื่อทั้งหน้าที่ตนพึ่งปฏิบัติต่อตนเองว่า   เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ตน  ควรแท้ทีเดียวที่จะยังประโยชน์ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท   เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น  ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ  ด้วยความไม่ประมาท  หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ควรแท้ทีเดียว  ที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายนั้น  สำเร็จด้วยความไม่ประมาท”(อง.สตฺตก.)  เมื่อว่างจากการทำงานก็ไปฟังเทศน์ประกอบการกุศล(อานนท์)   ชาวชนบทหยุดงานวันพระเพื่อทำบุญ   ซึ่งเป็นการสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนถึงปัจจุบัน
    ความนิยมในการทำบุญตักบาตร   ชาวชนบทส่วนใหญ่จะตักบาตรทุกวัน   ถึงวันพระก็ไปทำบุญที่วัด  หนุ่มชาวบ้านก็นำเอาศรัทธาในการทำบุญตักบาตรมาเกี้ยวสาวด้วย  เช่น

    “....แม้ถึงพระหน้า  พี่จะพาน้องไปทำบุญ  น้องจงเกื้อหนุนสร้างผลบุญเราตักบาตรร่วมขัน  น้องจับมือพี่ต่างสองร่วมถือสารภีเดียวกัน  อธิษฐานเสียก่อนเจ้า ๆ  ว่าขอให้สองเรารักชั่วชีวัน
    แม้นเหมือนเป็นบุญพี่ที่คนดีจะตอบว่า  แสนซื่อยิ่งนักโอ้ยอดรักรักจนสุดประมาณ  แม้แต่ยามจะนอนหลับโอ้ยยอดรักจนสุดประมาณ   แม้แต่ยามจะนอนหลับแล้วกลับย้อนไปถึงน้องที่ฝัน  ฝันว่าน้องหนุนตัก ๆ  ที่ได้ร่มเงารัก   อีตอนเมฆบังจันทร์”        (บ้านนาสัญญารัก :  นิยม   มารยาท)
    “....ยามมีงานสมภารวัดท่านประกาศ  ช่วยกันทำบุญ
ตักบาตรรักษาศาสนาเอาไว้  ช่วยคนละนิดช่วยอุทิศด้วย
สินน้ำใจ  ผลบุญนำมาแจ่มใสชื่นหัวใจบ้านนาเรานี้....”
    (บ้านนา : มนต์   เมืองเหนือ)
    ในสังคมชนบท  วันธรรมสวนะเป็นเสมือนตารางเรียนพุทธศาสนิกชนโดยทัวไปเพราะเป็นการกำหนดตามตัวแน่นอนว่า   เมื่อถึงวันธรรมสวนะ  พุทธศาสนิกชนจะต้องหยุดงานประจำวันแล้วพากันไปวัด  เพื่อใจ ให้สงบ  และขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง  บางคนก็ได้รับการพัฒนาจิตใจสูงจนเกิดศรัทธาอาจหาญ   สามารถละโลกียสุขเสียได้(สุเมธ)
    คำว่า  “วันพระ”  ไม่มีปรากฎในคัมภีร์ดั้งเดิม  คือ  พระไตรปิฎกและอรรถกถา  ในเรื่องนี้ ร.ท.บรรจบ   บรรณรุจิ  ให้ทัศนะว่า “วันธรรมสวนะ”  ต่อมา  เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงเมืองสุโขทัยชาวเมืองสุโขทัยเลยเปลี่ยนใหม่ว่า  “วันพระ”(บรรจบ)
    เพลงลูกทุ่ง  สะท้อนให้เห็นความเป็นไทยที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา   มีศรัทธาจึงทำบุญบาตรทุกวัน  เมื่อถังวันพระก็ไปตักบาตรในวัด  หนุ่มสาวก็มีโอกาสได้ไปทำบุญและอธิษฐานรักด้วยกัน  ดังเพลงว่า
    “เกิดมาเป็นคนไทย น้องเอยจำไว้หมั่นทำบุญตักบาตร
    วันโกนวันพระอย่าให้ขาด  ทำบุญในใส่บาตรให้ทุก ๆ  วัน
    นี่ก็จวนวันพระ  น้องจ๊ะแจงเนื้อมัสมั่น  หูฉลาดนั่นสำคัญ
    สาเกต้มน้ำตาลอย่าลืมเอาไป
    เกิดชาติหน้าจะได้สวย  ผลบุญคงช่วยให้เจอะกันทุกชาติ
    อธิฐานทำใจให้สะอาด  เวลาใส่บาตร  เจ้าอย่าไปนึงถึงใคร
    ตั้งใจมั่นให้ดี  น้องถือทัพพีพี่จะถือขันให้  อย่าให้มองดูพระ
    เดี่ยวพระจะอาย  มองหน้าพี่ไว้คนเดียวก็พอ”
        (วันพระอย่าเว้น  :  สุรพล  สมบัติเจริญ)
    พิธีทำบุญบ้านนี้  นิยมทำกัน  เพราะถือว่าเป็นการได้พบพระสงฆ์และทำบุญถวายทาน  ความประสงค์ในการทำบุญนี้  ก็เพื่อขอให้เกิดความสุขสวัสดีจำเริญวัฒนา   ป้องกันสรรพพิบัติอุปัทวันตรายให้เว้นหนี  เป็นกุศลพิธีนิยมมาตั้งแต่พุทธกาล
    ผู้ประสงค์จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่  พึงกำนหดการตามหลักพิธีทางศาสนา  คือ
1.    นิมนต์พระสวดมนต์  รับอาหารบิณฑบาตรเช้า  หรือถวายเพล
2.    เตรียมด้วยสายสิญ3.    น์  บาตรน้ำมนต์
4.    เตรียมการต่าง5.     ๆ  เช่น  จัดสถานที่ที่บูชา  เหมือนกับการทำบุญ6.    โดยทั่วไป
7.    ถ้ายกศาลพระภูมิในวันเดียวกัน  ก็ไปบอกเชิญ8.    โหรและเตรียมการต่าง9.     ๆ
เมื่อถึงวันกำหนด  พระสงฆ์ก็มาเจริญพระพุทธมนต์  รุ่งขึ้นถวายอาหารบิณฑบาตรแก่สงฆ์  แต่ในปัจจุบั
นมักจะนิยมทำเสร็จภายในวันเดียวกันก็ไม่ถือว่าผิดพิธี  นอกจากนั้นก็จะมีการถวายเครื่องไทยธรรมรับพรและกรวดน้ำ   และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ  อาราธนาพระสงฆ์ให้ท่านโปรยทรายรอบบ้านทั่วทิศและประพรมน้ำพระพุทธมนต์เพื่อเป็นมงคลแก่บ้าน
    เมื่อมีการทำบุญก็จะได้มีการบูชาเคารพพระรัตนตรัย  พระรัตนตรัยนั้นเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวที่ลึกซึ้งที่สุดในทางจิตเมื่อ  เราเข้าถึงพระรัตนตรัยการทำบุญบ้านคนไทยถือว่าเป็นการสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว
    บทเพลงลูกทุ่งถึงการทำบุญบ้านตามหลักศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา  โดยนิมนต์พระมาสวดมนต์หลังจากนั้นเมื่อถวายภัตตาหารเรียบร้อยแล้วก็มีการกรวดน้ำรับพรตามพิธีของชาวพุทธ  ดังบทเพลงว่า
    “วันเอ๋ยวันนี้  เป็นวันฤกษ์ดี  ศรีสุขถวัลย์  มงคลนำ
ทำบุญบ้านเถิดเลิศล้ำสำราญวิญญาณ์  เหมือนวิมานสถานเทวา
เทพบุตรธิดาต่างโปรยมาลาให้พร
    เพราะกุศลบนประสาน  ทำบุญบ้านอนุสรณ์
ความสั่งสมสิ่งสังวร  มีที่นอน  มีที่กิน  มีชายคาบังฟ้าฝน
ไร้กังวลสมถวิลดุจมัจฉามีวาริน  ดั่งนาคินมีบาดาล  มี
วิมานของเทพบุตร  เรามนุษย์ต้องมีบ้าน  โดยหยาด
เหงื่อและแรงงาน  อันไพศาลพฤตินัย
    ฟังเสียงโห่  โกลาลั่น  ฆ้องสนั่นสั่นไปไกล  เสียงดนตรี
ที่เร้าใจ  ชื่นอยู่ในประเพณี  พระสวดมนต์เจริญพร ให้
ถาวรตามวิถี  จบยถามาสัพพีตรวจวารีตามเวลากรวดน้ำ
หลั่งตั้งสติยังกิญจิ  บ้างอิมินา  แผ่กุศลคนศรัทธา  โมทนา
โดยสมภาร”
    (ทำบุญบ้าน : ไวพจน์  เพชรสุนทร)

bandonradio

ส่งข่าวถึงกันและกัน

Recent Posts

www.bandonradio.blogspot.com = คลื่นแห่งสาระบันเทิง ..

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons